การประพันธ์เดี่ยวระนาดทุ้มเพลงสุรินทราหู สามชั้น
คำสำคัญ:
การประพันธ์เพลง , เดี่ยวระนาดทุ้ม , เพลงสุรินทราหู สามชั้นบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการประพันธ์ทางเดี่ยวระนาดทุ้มเพลงสุรินทราหู สามชั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อประพันธ์เดี่ยวระนาดทุ้ม เพลงสุรินทราหู สามชั้นและวิเคราะห์เดี่ยวระนาดทุ้ม เพลงสุรินทราหู สามชั้น ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า เดี่ยวระนาดทุ้มเพลงสุรินทราหู สามชั้น มีทั้งหมด 3 ท่อน บรรเลงในลักษณะ 6 เที่ยว โดยบรรเลงท่อนละ 2 เที่ยว ประกอบด้วยเที่ยวแรกและเที่ยวกลับ โครงสร้างบทเพลงในช่วงแรกเริ่มบรรเลงด้วยกลวิธีการขยี้และกลับเข้าสู่จังหวะปกติในท้ายท่อนที่ 1 เที่ยวแรก และบรรเลงด้วยจังหวะด้วยดังกล่าวไปตลอดจนจบเพลง มีการสอดแทรกสำเนียงมอญและเปอร์เซียในช่วงกลางไปจนถึงท้ายของท่อนที่ 2 เที่ยวกลับ นอกจากนี้ยังพบกลวิธีและสำนวนในการบรรเลงระนาดทุ้มใน
เดี่ยวระนาดทุ้มเพลงสุรินทราหู สามชั้น อย่างครบถ้วนอันประกอบไปด้วยกลวิธีการตีดูด การตีถ่าง การตีกระทบ การตีย้อย การตีโขยก สำนวนล่วงหน้า สำนวนล้าหลัง และสำนวนอีหลักอีเหลื่อ
References
ธรรมสภา. (2540). พุทธศาสนสุภาษิตฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพ : ธรรมสภา.
พิชิต ชัยเสรี. (2540). การบรรยายในงาน 100 ปี ขุนบรรจงทุ้มเลิศ (ปลั่ง ประสานศัพท์). กรุงเทพฯ : ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).
พิชิต ชัยเสรี. (2556). การประพันธ์เพลงไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2532). นามานุกรมศิลปินเพลงไทยในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ เฉยเจริญ. (2542). การวิเคราะห์ทางระนาดทุ้มเพลงเชิดจีน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษย ดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
วงศ์วสันต์ วสันตสุรีย์. (2564). ดุษฎีนิพนธ์วิจัยสร้างสรรค์ทางดุริยางคศิลป์: เพลงการเดินทางของเฉกอะหมัดสู่กรุงศรีอยุธยา. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.