แนวทางการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนวัดยอดพระพิมลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2

ผู้แต่ง

  • วราพร รอดแก้ว สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหาร, การใช้อำนาจ , ผู้บริหารโรงเรียน , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการใช้อำนาจของผู้บริหาร 2) เปรียบเทียบการใช้อำนาจของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม และ 3) ศึกษาแนวทางการใช้อำนาจของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และคณะกรรมการผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 56 คน โดยมีการสุ่มผู้ให้ข้อมูลจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมี 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับนัยสำคัญ .05 และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัยพบว่า

1. ระดับการใช้อำนาจของผู้บริหารในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่าด้านอำนาจตามกฎหมาย ด้านอำนาจจากการบังคับ ด้านอำนาจจากการอ้างอิง ด้านอำนาจจากการให้รางวัล และด้านอำนาจจากความเชี่ยวชาญ

2. การเปรียบเทียบการใช้อำนาจของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพในตำแหน่งผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าในภาพรวมมีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านที่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ได้แก่ ด้านอำนาจจากการให้รางวัล ด้านอำนาจตามกฎหมาย ด้านอำนาจจากการอ้างอิง และด้านอำนาจจากความเชี่ยวชาญ

3. แนวทางการใช้อำนาจของผู้บริหาร สรุปได้ว่าควรมีการปรับปรุงโดยกำหนดปัจจัยวัดความสำเร็จของงาน วัตถุประสงค์ของงานที่ชัดเจน จากนั้นประชุมมอบหมายงาน โดยแบ่งงานให้มีปริมาณเท่ากันและเหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล ควรให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานที่สามารถวัดและตรวจสอบได้ ส่งเสริมให้มีการจัดอบรมพัฒนาบุลากรในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเป็นแบบอย่างได้ และควรปรับปรุงโดยการส่งเสริม สนับสนุนการประกวดผลงานต่าง ๆ เพื่อให้โรงเรียนมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ Organization Behavior and Organization Development. (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพมหานครฯ.

จิระ เฉลิมศักดิ์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในวิทยาลัยอาชีพบางละมุง. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

บริมาส ศิริตรานนท์. (2558). การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

ฝ่ายบริหารงานวิชาการโรงเรียนวัดยอดพระพิมล. (2565). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา โรงเรียนวัดยอดพระพิมล. โรงเรียนวัดยอดพระพิมล. นนทบุรี

วราภรณ์ พรหมรัตน์. (2551). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี

วาสนา ดิษฐ์ประดับ. (2564). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. เพชรบุรี

สุระชัย เอี่ยมสะอาด. (2557). การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนหัวหินวิทยาคม. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต).กรุงเทพมหานครฯ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

John R. P., & French, B. R. (1968). THE BASES OF SOCIAL POWER. (Ann Arbor. Institution for Social Research University of Michigan Organizations, 11th ed. (Ohio: Cengage Learning, 2014), 377-379.

Hersey, P., & Kenneth, H. (1985). Blanchard. Management of Organizational Behavior Utilizing Human Resources. New Delhi. Prentice-Hall of India.

Krejcie, R.V., & Morgan, D. W. (1970) Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26