การพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • สิรวิชญ์ ธาดาบดินทร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กบินทร์บุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ , การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps , วิจัยในชั้นเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินคะแนนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากบินทร์บุรี และ 2) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากบินทร์บุรี จำนวน 42 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง มีเกณฑ์คัดเลือก คือ เป็นนักเรียนในห้องเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์และเป็นห้องเรียนที่นักเรียนผลการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา เพื่อหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 มีคะแนนรวม 7 ข้อ ได้คะแนนทั้งหมด 21 คะแนน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3 คือ ดีมากขึ้นไป และ 2) การพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps พบว่า การพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากบินทร์บุรีในภาพรวมครูผู้สอนจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ที่จะการรวบรวมข้อมูล นักเรียนมีการจัดข้อมูลทางประวัติศาสตร์เรื่อง “เล่าขานบรรพชน ตำนานคนแดนบูรพา” ร่วมกันวางแผนและลงมือทำแบบมีส่วนร่วมของนักเรียน รวมถึงตรวจสอบแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในงาน นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และมีการประเมินสร้างคุณค่าสู่สังคม และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมผ่านการเผยแพร่ผลงานของนักเรียน  

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567 จาก https://www.moe.go.th/360basic-history-course/

กล้า ทองขาว. (2561). การจัดการศึกษาฐานชุมชน (Community-based Education Management = CBEM). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3).

กิตติศักดิ์ ลักษณา. (2559). การพัฒนาการคิดทางประวัติศาสตร์: การคิดเกี่ยวกับความสำคัญทางประวัติศาสตร์.วารสาร ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, 12(2), 137-158.

เกียรติศักดิ์ วงษ์เลี้ยง และ อัจฉรา ศรีพันธ์. (2566). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(4), 229-238.

ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2560). มนต์เสน่ห์ของประวัติศาสตร์ คือ การถกเถียงกับอดีตไม่รู้จบ. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.the101.world/history-must-survive/

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2564). กระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/90844/-teamet

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. (2567). เกี่ยวกับโรงเรียน. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567 จาก https://www.tunk.ac.th/home/index.php

วิจารณ์ พานิช. (2557). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2567 จาก http://academic.obec.go.th/images/document/1562725676_d_1.pdf

Bloom, B. S. (1976). Taxonomy of Education Objective, Handbook I : Cognitive. Domain. NewYork : David Mckay.

Bradshaw, T. K. (2007). Theories of poverty and anti-poverty programs in community development. Community Development, 38(1), 7-25.

Buchanan, R. (2015). Teacher identity and agency in an era of accountability. Teachers and Teaching: Theory and Practice, 21(6), 700–719

Education Reform Commission. (2021). The National Education Reform Plan (Revised Version). Retrieved from http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2021/03/01-แผน-ปฎิรูปการศึกษา.pdf

Flecky, K. (2011). Foundations of service-learning. Service-learning in occupational therapy education: Philosophy and practice, 1-12.

Lévesque, S. (2008). Thinking historically: Educating students for the twenty-first century. University of Toronto Press.

Pellegrino, J. W. (2007). From early reading to high school mathematics: Matching case studies of four educational innovations against principles for effective scale-up. Scale-up in education: Issues in Practice, 2, 131-139.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26