รูปแบบการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อความเป็นผู้ประกอบการ ในธุรกิจขนาดย่อม จังหวัดลําปาง

ผู้แต่ง

  • เจตน์ สืบสาย คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
  • คัจฉนันท์ เลิศพงษ์ศิลป์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

คำสำคัญ:

การตลาดออนไลน์ , การโฆษณาออนไลน์ , การตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย , ธุรกิจขนาดย่อม , ความเป็นผู้ประกอบการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสำคัญของการตลาดออนไลน์และความเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดย่อม และ 2) เพื่อศึกษาการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อความเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดย่อม จังหวัดลําปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการสินค้าในจังหวัดลำปาง จํานวน 385 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานด้วยสมการถดถอยเชิงพหุคูณ ด้วยวิธีการนำเข้าตัวแปรทั้งหมด

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับการตลาดออนไลน์ภาพรวมอยูในระดับมาก โดยให้การตลาดผ่านโซเชียลเป็นอันดับแรก ( =3.95, S.D.= 0.598) รองลงมา คือ การตลาดบนมือถือ ( =3.93, S.D.= 0.640) การโฆษณาออนไลน์  ( =3.90, S.D.= 0.626) ลำดับสุดท้าย การตลาดผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และความเป็นผู้ประกอบการมีสัดส่วนเท่ากัน ( =3.75, S.D.= 0.689, 0.658) ตามลำดับ และการตลาดผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การโฆษณาออนไลน์ การตลาดผ่านโซเชียลมีเดียและการตลาดบนมือถือมีผลต่อความเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดย่อมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมควรให้ความสำคัญกับการตลาดออนไลน์ พัฒนาและเรียนรู้เพื่อนำเอาเทคนิคหรือเครื่องมือการตลาดออนไลน์มาประยุกต์ใช้เพราะจะช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น การตลาดออนไลน์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล

References

กัลยารัตน์ หัสโรค์. (2565). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการที่ได้รับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(6), 7-19.

ณัฐพงศ์ เจริญดีทรัพย์สิริ, ศิริรัตน์ โกศการิกา, และยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2567) การสื่อสารทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ตราสินค้าและส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าออนไลน์. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 15(23), หน้า 15-34.

นาค สุรพันธุ์ และพลอย ชมพู, (2564). การรับรู้รูปแบบเนื้อหาเชิงการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจต่อผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดออกกำลังกายผ่านเฟซบุ๊คของคนไทย. Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5380. https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5380

นิธิวัฒน์ สุทธิเจริญ, พีระพัฒน์ เสงี่ยมงาม และเพ็ญนภา จุมพลพงษ์. (2566). กลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลของลูกค้าบนโซเชียลมีเดียสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสุขภาพและความงาม. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 5(2), 130-144.

พรรณี พิมพ์โพธิ์, เทอดเกียรติ แก้วพวง และปิยะพงษ์ ยงเพชร. (2565). การพัฒนาตลาดสินค้าสมุนไพรแปรรูปประเภทน้ำมันนวดสปายุคดิจิทัลผ่านรูปแบบตลาดออนไลน์ด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสากิจชุมชนเครื่องหอมจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการรับใช้สังคมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 6(2);34-49.

สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย). (2566). Press Report Thailand Digital Advertising Spend 2020 – 2021. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.daat.in.th/digital-ad-spend

สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย Thailand Internet User Behavior 2565. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.etda.or.th/th

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2565). โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start up) ปี 2560. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2566 จาก https://old.sme.go.th/th/cms-detail.php?modulekey=119&id=1022

อัญณิฐา ดิษฐานนท์ และอรพรรณ คงมาลัย. (2565). โมเดลการพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ตลาดออนไลน์อย่างประสบความสำเร็จ. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์. ปีที่ 16 ฉบับที่ 25 กรกฎาคม - ธันวาคม หน้า 1-24.

Appel, G., Grewal, L., Hadi, R., & Stephen, A. T. (2020). The future of social media in marketing. Journal of the Academy of Marketing Science, 48(1), 79-95.

Ardichvili, A., Cardozo, R., & Ray, S. (2003). A theory of entrepreneurial opportunity identification and development. Journal of Business Venturing, 18(1), 105-123.

Budiman, S. (2021). The effect of social media on brand image and brand loyalty in Generation Y. The Journal of Asian Finance, Economics and Business, 8(3), 1339-1347.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Drucker, P. F. (1985). Entrepreneurial strategies. California Management Review, 27(2), 9-25.

Dwivedi, Y. K., Ismagilova, E., Hughes, D. L., Carlson, J., Filieri, R., Jacobson, J., & Wang, Y. (2021). Setting the future of digital and social media marketing research: Perspectives and research propositions. International Journal of Information Management, 59, 102168.

Irbo, M. M., & Mohammed, A. A. (2020). Social media, business capabilities, and performance: A review of the literature. African Journal of Business Management, 14(9), 271-277.

Likert, R. (1970). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.

Majid, I. A., & Koe, W. L. (2012). Sustainable entrepreneurship (SE): A revised model based on the triple bottom line (TBL). International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 2(6), 293.

Makrides, A., Vrontis, D., & Christofi, M. (2020). The gold rush of digital marketing: assessing prospects of building brand awareness overseas. Business Perspectives and Research, 8(1), 4-20.

Meelap, J., Tangcharoen, K., Phutthipan, N., Boriphan, W., & Noknoi, J. (2018). Intention to use social media for business. National Academic Conference 10th Walailak Research, 27-28 March 2018. (in Thai)

Miller, D. (1983). The correlates of entrepreneurship in three types of firms. Management Science, 29(7), 770-791.

Omar, A. M., & Atteya, N. (2020). The impact of digital marketing on the consumer buying decision process in the Egyptian market. International Journal of Business and Management, 15(7), 120.

Onuoha, N. E. (2022). Does structural capital count in the human capital-corporate financial performance relationship? Evidence from deposit money banks in Nigeria. Measuring Business Excellence, 26(4), 541-557.

Pangthong, P., Wingwon, B., & Vonglao, P. (2024). The Moderating Role of E-Marketplace on the Relationship Between Corporate Entrepreneurship and Performance Evaluation of Online Business Entrepreneurs in Thailand. Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 13(1), 48-66.

Samantaray, A., & Pradhan, B. B. (2020). Importance of e-mail marketing. PalArch's Journal of Archaeology of Egypt/Egyptology, 17(6), 5219-5227.

Sanguandisakul, Y., & Kessadayurat, C. (2023). Platform Advertising Effectiveness Study on Brand Awareness and Consumer Reach via Instagram, Facebook and Line Platforms: A Case Study of Online Stores the Classicpe BKK Brand. Journal of Business Administration and Languages (JBAL), 11(1), 60-72.

Tong, S., Luo, X., & Xu, B. (2020). Personalized mobile marketing strategies. Journal of the Academy of Marketing Science, 48, 64-78.

Yang, Y. (2020). Factors affecting the purchase decision on fashion clothes via social media (Facebook) of working consumers in Bangkok. Master’s independent study. Retrieved 2023, December 11 from http://dspace.bu.ac.th /jspui/bitstream/ 123456789/4376/1/yang_ying.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-14