การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ ปันบุตร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองบัวลำภูเขต 1
  • พิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การใช้พลังอำนาจ , ผู้บริหารสถานศึกษา, ขวัญกำลังใจ , สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู และ 3) เพื่อศึกษาการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นใช้อำเภอเป็นชั้นในการแบ่ง และจำแนกแต่ละอำเภอแบบสัดส่วน จำนวน 321 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า 1) พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานและด้านความมั่นคงในงาน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู พบว่าโดยรวมพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ผลการวิเคราะห์พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูพบว่าด้านอำนาจอ้างอิงและด้านอำนาจตามกฎหมายส่งผลทางบวกต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 81.50 (R2 = 0.815) โดยที่ด้านอำนาจอ้างอิงมีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านอำนาจตามกฎหมาย ตามลำดับ

References

กฤติภัทร โสภิตวราทร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตอำเภอ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

กานต์นภัส กลับเครือ และอนงค์ สระบัว. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 4(1), 16.

กุลธิดา สะลิมิง และชวริศ เกิดทิพย์. (2563). การใช้อำนาจของผู้บริหารสตรีที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 30,(3).

จริยวดี ศรีทิพย์อาสน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญและกำลังใจของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ชาคริสต์ เลิศเตชะจิรานนท์. (2565). การใช้อำนาจทางการบริหารที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นรมน ขันตี. (2561). การศึกษาบทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เนตรพัณณา ยาวิราช. (2546). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : เซ็นทรัลเอ็กเพรส.

บริสุทธิ์ อธิจิต. (2556). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ พธ.ม.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิมพ์ดี

วชิรวิทย์ สุราสาและเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). ผู้บริหารที่นำสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ บนวิถีแห่งความเปลี่ยนแปลง. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 หน้า 186-201.

อุบลรัตน์ ชุณหพันธ์. (2558). การศึกษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

French, J. R. P. & Raven, B. (1959). The Bases of Social Power. England: Oxford University Press.

Raven, B. H., & Kruglanski, A. W. (1970). Conflict and Power. In The Structure of Conflict. New York: Academic Press.

Tyson and Jackson. (1992). The Essence of Organization Behavior. New york: Prentice-Hill.

Vega, J. F., & Yanozas, J. N. (1984). The dynamic of organization theory (2nd ed.). Minnesota: West.

Yukl, G. (2006). Leadership in Organizations, 9/e. Pearson Education India.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-15