การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • อัจฉราภรณ์ อุไรโชติ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก
  • ฐิติพัฒน์ หิรัญนิธำรง อาจารย์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา , สถานที่ตั้งโรงเรียน, โรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก และ 2) ศึกษาเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยจำแนกตามสถานที่ตั้งของโรงเรียนและประสบการณ์ในการทำงาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 103 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe

ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการ โดยรวมมีความคิดเห็นระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัด ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ด้านการวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษาและด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามลำดับ 2) ผลการศึกษาเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก จำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียน พบว่าโดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลไม่แตกต่างกัน และผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กจากประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์การทำงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 5-10 ปี รองลงมา คือ มีประสบการณ์การทำงาน 11 ปี ขึ้นไป และน้อยสุด คือ มีประสบการณ์ ต่ำกว่า 5 ปี ตามลำดับ จากการวิเคราะห์การแปรปรวน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีคะแนนเฉลี่ยจากประสบการณ์การทำงานต่างกันอย่างน้อย 1 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และผลการทดสอบรายคู่ โดยการทดสอบของ Scheffe พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์ทำงาน 5-10 ปี ได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าผู้มีประสบการณ์ทำงานต่ำกว่า 5 ปี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2567 จาก https://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542/

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2566). ขาดงบ ขาดครู ขาดโอกาส ความไม่เสมอภาคของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2567 จาก https:// www.eef.or.th/article-public-policy-move-1/

จันทรานี สงวนนาม. (2561). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์ จำกัด.

ประสงค์ หัสรินทร์. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอเอราวัณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 7(1), 35-46.

ปุณณพัฒน์ ธนเดโชเดช, สุวดี อุปปินใจ และพูนชัย ยาวิราช. (2567). รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในเขตพื้นที่พิเศษบนภูเขาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 6(1), 317-332.

ปุริมปรัชญ์ คณิณพศุตย์. (2565). การประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยข้อสอบมาตรฐานในการสอบปลายปีปีการศึกษา 2561 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(6), 314-329.

พงศกร อดุลพิทยาภรณ์ และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2561). การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(2), 316-329.

พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 1 .(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์, พระนครศรีอยุธยา.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ และวีนัส ศรีศักดา. (2565). การพัฒนาองค์ความรู้หลักสูตรฐานสมรรถนะด้านภาษา: กรณีศึกษาท่าน้ำโมเดล, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 34(1), 99-112.

วรายุทธ โพธิ์ลา และสุเทพ เมยไธสง. (2567). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนสตึก 3ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขต ร้อยเอ็ด, 4(2), 1-9.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. (2567). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.prachin1.go.th/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Best J. W. (1981), Research in Education, 4th Edition, New Delhi, Prentice Hall of India Pvt. Ltd.

Bush, T. (2011). Theories of Educational Leadership and Management (4th ed.). Sage.

Day, C., Gu, Q., & Sammons, P. (2016). The impact of leadership on student outcomes: How successful school leaders use transformational and instructional strategies to make a difference. Educational Administration Quarterly, 52(2); 221-258.

Gorton, A. R. (1983). School Leadership and Administration: Important Concepts, Case Studies, and Simulations. Dubuque, Iowa: Wm. C. Brown.

Hallinger, P., & Heck, R. H. (2010). Collaborative leadership and school improvement: Understanding the impact on school capacity and student learning. School Leadership & Management, 30(2); 95-110.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2008). Educational administration: Theory, research, and practice (8th ed.). New York: McGraw-Hill.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Sample size determination table. Educational and psychological Measurement, 30, 607-610.

Leithwood, K., Harris, A., & Hopkins, D. (2008). Seven strong claims about successful school leadership. School Leadership and Management, 28(1); 27-42.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, in Attitude Theory and Measurement. New York, Wiley & Son.

Richard, A. G. (1983). School Administration and Supervision: Leadership Challenges and Opportunities, (2nd ed.). Ohio: W.C. Brown.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26