การสังเคราะห์งานวิจัย: ทิศทางการออกแบบการวิจัยทางพระพุทธศาสนา เพื่อการพัฒนาองค์กร

Main Article Content

ลำพอง กลมกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอทิศทางการออกแบบการวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาองค์กรด้วยวิธีการสังเคราะห์การวิจัย และเพื่อนำเสนอขั้นตอนของกระบวนการการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน ผลการศึกษาพบว่า 1) การออกแบบการวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาองค์กรด้วยวิธีการสังเคราะห์การวิจัยนั้น วิธีการสังเคราะห์งานวิจัยที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ คือ การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน ซึ่งเป็นวิธีการสังเคราะห์งานวิจัยที่ทำให้ได้ข้อค้นพบที่มีความลึกซึ้งมากกว่าที่ได้รับจากงานวิจัยแต่ละเรื่อง เป็นวิธีการสังเคราะห์ที่เน้นความสำคัญของการสร้างประเด็นอุปมา และการแปลความหมาย 3 ลักษณะ คือ การแปลความหมายเทียบกลับไปกลับมา การแปลความหมายเชิงหักล้าง และการแปลความหมายเพื่อเสนอประเด็นโต้แย้ง และ 2) ขั้นตอนของกระบวนการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน มี ๗ ขั้นตอน ประกอบด้วย คือ 1) ขั้นเริ่มต้น เริ่มจากระบุปัญหาวิจัย ศึกษาและสร้างกรอบแนวคิด 2) ขั้นตัดสินใจเลือกงานวิจัยมาสังเคราะห์ 3) ขั้นอ่านงานวิจัยเพื่อทำความเข้าใจ 4) ขั้นกำหนดกรอบแสดงความสัมพันธ์ระหว่างงานวิจัย 5) ขั้นตีความหมาย เชื่อมโยง และเปรียบเทียบ 6) ขั้นสังเคราะห์ความหมาย และ 7) ขั้นสรุปและรายงานผลการสังเคราะห์ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความจำเป็นในการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน

Article Details

บท
Articles