ดนตรีของ 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นที่เขตธนบุรี
คำสำคัญ:
กลุ่มชาติพันธุ์ , ธนบุรี, ดนตรีบทคัดย่อ
การศึกษาความเป็นมาและลักษณะทางดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 5 ได้แก่ จีน แขก มอญ ลาว ฝรั่ง ในพื้นที่เขตธนบุรี พบว่าการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในธนบุรีของชาติพันธุ์ทั้ง 5 กลุ่ม มีเหตุผลและช่วงเวลาที่ต่างกันไป ชาวจีนแต้จิ๋ว ชาวฝรั่งโปรตุเกสและมุสลิมนิกายชีอะห์หรือแขกเจ้าเซ็น อพยพเข้ามาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเพื่อค้าขายและรับราชการ เมื่อพระเจ้าตากสินได้สถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ทั้งสองกลุ่มนี้ก็ได้ย้ายตามมาตั้งชุมชนในธนบุรีอยู่ด้วย ชาวมอญอพยพเข้ามาเพราะหนีภัยสงครามกับพม่า ชาวลาวถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ เมื่ออพยพเข้ามาแล้วทั้ง 5 กลุ่มต่างก็ได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทย มีการรับเอาวัฒนธรรมไทยไปปรับใช้ ขณะเดียวกันคนไทยก็ได้รับเอาวัฒนธรรมบางอย่างมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 5 ด้วย และการอพยพเข้ามาต่างได้นำเอาดนตรีของตนเองมาด้วย อันเป็นดนตรีที่มีความสำคัญและมีบทบาทต่อวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของทุกกลุ่มในเรื่องศาสนาและอาชีพ อาทิ“หล่อโก้ว” ดนตรีพิธีกรรมของชาวจีนแต้จิ๋วในย่านวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร “เพลงส้มปิน” สำหรับใช้ร้องและรำในประเพณีสงกรานต์ของชาวมอญย่านวัดประดิษฐาราม การทำขลุ่ยอันเป็นอาชีพหลักของชาวลาวย่านวัดบางไส้ไก่ “วงปี่กลอง” ในพิธีแขกเจ้าเซ็น พิธีกรรมสำคัญของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ และ“ระฆังการิย็อง” กับเพลง “ลูกกุฎีจีน” เป็นเครื่องดนตรีและเพลงที่ลูกหลานชาวโปรตุเกสในย่านกุฎีจีนภาคภูมิใจ ดนตรีของทั้ง 5 กลุ่มเป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน มีโครงสร้างตามหลักทฤษฎีทางดนตรีและมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้เข้าร่วมพิธี ปัจจุบันรูปแบบทางดนตรีของทั้ง 5 กลุ่มยังคงมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของทุกกลุ่ม และรักษาไว้ได้อย่างเข้มแข็ง สามารถส่งต่อวัฒนธรรมทางดนตรีนี้ให้ลูกหลานในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกับตน ได้เรียนรู้และสืบทอดกันต่อไป
References
Chuangphichit Thiranan. (2008). phithī čhaosen ( ʻā chū rō̜ ) ʻattalak læ kān damrong chāttiphan khō̜ng Mutsalim nikāi chī nai sangkhom Thai. [The Ashura Ceremony: Identity and Ethnicity of Shia Muslims in Thai Society]. Master of Arts Thesis. Graduate School. Silpakorn University.
Chuangphichit Thiranan. President of the Community Foundation of Yan Kadi Chin - Khlong San. Interview. (2023, 18 November)
Chuthawiphat Wattana. (1999). hatthakam Thai khwāmpenmā læ kānphalit nai patčhuban sưksā kō̜ranī : kāntham khlui. [Thai handicrafts: history and current production. A case study: flute making]. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Klinbupha, S. The successor to the flute-making tradition from Lao ancestors. interview. (2023, 15 December)
Phongthai Nawinee. Founder of the Kudi Chin Museum. Interview. (2024, 21 February)
Phunhirun Ekachai & et al. (2024). Creative Community Tourism Development Based on Kudeejeen Community Identity, Thailand. RICE Journal of Creative Entrepreneurship and Management. 5(1), 37-46.
Rojanawiphat Warah. (2021). wai kaolao rư̄ang @ fang thana ... wiwit watthanatham chabap phisēt. [The story of the elderly @ Thonburi side, special edition of diverse cultures. Office of Arts and Culture]. Bansomdejchaopraya Rajabhat University.
Ruejaemsin Nittaya. Member of Bang Sai Kai Community. Interview. (2023, 30 October)
Shenwei Chen. Teacher of Teochew Chinese Music. Interview. (2024, 14 May)
Suchaya Sudara. (1999). nakdœ̄nthāng . . . phư̄a khwāmkhaočhai nai phǣndin thana bu rī. ["Travelers...for understanding the land of Thonburi"]. Bangkok : Bangkok Printing House.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.