เครื่องดนตรี “วัฒนธรรมกลองสัมฤทธิ์และฆ้อง” ในภูมิภาคอุษาคเนย์
คำสำคัญ:
กลองสัมฤทธิ์, ฆ้อง, อุษาคเนย์บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง เครื่องดนตรี “วัฒนธรรมกลองสัมฤทธิ์และฆ้อง” ในภูมิภาคอุษาคเนย์ เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวทางวัฒนธรรมร่วมในอุษาคเนย์ที่มีมาตั้งแต่อดีต และเป็นวัฒนธรรมทางดนตรีที่มีความโดดเด่นวัฒนธรรมหนึ่งในภูมิภาคอุษาคเนย์ สัมฤทธิ์ (Bronze) คือ โลหะผสมทองแดง ซึ่งมีดีบุกเป็นส่วนประกอบหลัก เผาที่อุณหภูมิความร้อนประมาณ 1,200 องศาเซลเซียส บางครั้งมีแร่ธาตุอื่น ๆ เป็นส่วนผสมด้วย สัมฤทธิ์เป็นโลหะที่มีความสำคัญมากในสมัยโบราณจนนักโบราณคดีเรียกยุคยุคหนึ่งในอดีตว่า “ยุคสัมฤทธิ์”
ดนตรีพื้นบ้านในภูมิภาคอุษาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการ แปรเปลี่ยนไปตามชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ยังคงมีลักษณะบางอย่างร่วมกันและสืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ คือ เครื่องดนตรีที่ทำจากไม้และไม้ไผ่ และเครื่องดนตรีที่ทำจากโลหะ กลองสัมฤทธิ์และฆ้องเป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากโลหะ ที่สามารถพบได้โดยทั่วไปในภูมิภาคอุษาคเนย์ ซึ่งเครื่องดนตรีที่ทำจากโลหะหรือสัมฤทธิ์ในยุคนี้เป็นการสร้างเลียนแบบเครื่องดนตรีวัฒนธรรมไม้ไผ่ที่มีมาก่อนหน้า เสียงของโลหะที่มีความก้องกังวานในสมัยนั้นถือเป็นเสียงใหม่ที่มี ความยิ่งใหญ่ ศักดิ์สิทธิ์ และมีความมหัศจรรย์อย่างที่สุดในสมัยนั้น ดังนั้นเครื่องดนตรีที่ทำจากโลหะจึงมีฐานะทางสังคมสูงมากในสมัยนั้น บทบาท หน้าที่ และความสำคัญของกลองสัมฤทธิ์และฆ้องถูกนำมาใช้ในพื้นฐานความคิดดั้งเดิมเดียวกันของชาวอุษาคเนย์นั่นคือ สร้างกลองสัมฤทธิ์และฆ้องขึ้นมาเพื่อใช้ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในการนับถือผี จนกระทั่งกลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ในตนเอง
References
กระทรวงวัฒนธรรม, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. (2548). สำริด: โลหะที่เปลี่ยนโลก. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.openbase.in.th/node/ 866. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2565].
เจนจิรา เบญจพงศ์ และเสถียร ดวงจันทร์ทิพย์. (2555). ดนตรีอุษาคเนย์ โครงการค้นคว้ารวบรวมหลักฐานพัฒนาการดนตรีอุษาคเนย์ เพื่อจัดแสดงใน Southest Asia Music Museum ของวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
ดนตรีวิทยารุ่นที่ 11. (2548). ดนตรีในภาคพื้นเอเชีย เล่ม 2 มาเลเซีย-อิโดนีเซีย-เวียดนาม. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ดนตรีวิทยารุ่นที่ 19. (2556). เครื่องดนตรีโลหะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ยุคโลหะ. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. ได้จาก: https://tawatshaiboonsong.wordpress .com/ยุคโลหะ/. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2565].
ย่ำฆ้อง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ นายกมล ปลื้มปรีชา. (2544). กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2553). เครื่องดนตรีกัมพูชาโบราณ. นนทบุรี: หยิน หยาง การพิมพ์.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2555). "วัฒนธรรมร่วม" ในอุษาคเนย์ รากเหง้าเก่าแก่ของประชาคมอาเชียน. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://prachatai.com/
journal/2012/08/42238. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565].
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2558). วัฒนธรรมร่วมอาเซียน. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.sookjai.com/index.php?topic=153471.0. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565].
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2559). วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน. กรุงเทพฯ: นาตาแฮก.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2564). สุวรรณภูมิ ‘ดินแดนทอง’ เป็นส่วนหนึ่งของอุษาคเนย์. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.matichonweekly.com/sujit/article_407261. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.