การประกวดดนตรีไทย: ประวัติ พัฒนาการ และคุณค่าในบริบทสังคมไทย
คำสำคัญ:
ประกวดดนตรีไทย, ประวัติศาสตร์, คุณค่าสำหรับดนตรีไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของการประกวดดนตรีไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และศึกษาคุณค่าของการประกวดดนตรีไทย
ที่มีต่อวัฒนธรรมดนตรีไทย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การประกวดดนตรีไทยเกิดครั้งแรกในรูปแบบของ การประชันวงดนตรีไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากเป็นพระราชนิยมของสถาบันกษัตริย์และชนชั้นปกครองที่จะต้องมีวงดนตรีไทยภายใต้สังกัดของตน และนำวงดนตรีเข้าร่วมแสดงในงานที่สำคัญ และทำให้เกิดรูปแบบของการบรรเลง บทเพลง กลวิธี การปฏิบัติ เครื่องดนตรีชนิดใหม่ และกลายเป็นแบบแผนให้กับดนตรีไทย กระทั่งหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ปรากฏคำว่าประกวดดนตรีไทยในปี พ.ศ. 2492 หลังจากนั้นได้มีการจัดการประกวดดนตรีไทยทั้งในรูปแบบของวงดนตรีและเดี่ยวเครื่องดนตรี โดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวดอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน 2. คุณค่าของการประกวดดนตรีไทย ได้แก่ 1) คน ได้แก่ ผู้บรรเลงหรือ นักดนตรี ผู้ฝึกสอน ผู้ผลิตเครื่องดนตรี และผู้สนับสนุน 2) เพลง ได้แก่ เพลงเก่า ถูกผลิตซ้ำ และเพลงใหม่ถูกสร้างขึ้น 3) หน่วยงาน ได้แก่ เกิดประสบการณ์ ในการจัดงาน และสร้างมาตรฐานและได้รับการยอมรับ 4) วัฒนธรรมดนตรีไทย เกิดการสร้างมาตรฐานใหม่ และธำรงรักษาเอกลักษณ์ประจำชาติ
References
กฤษฎิ์ เลกะกุล. (2560). ระเบียงทัศน์: จาก “โหมโรง” สู่การเมืองเหลืองแดง วัฒนธรรมแห่งการประชันในรัตนโกสินทร์. [ออนไลน์]. ได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-40397261. [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565].
ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2548). ดนตรีประชัน. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 30(4), 1037 – 1047.
ดิษฐ์จรัส. (2555). บ้าน วัด วัง – ปรากฏการณ์อุปถัมภ์วัฒนธรรมดนตรีไทย และดนตรีประชัน. [ออนไลน์]. ได้จาก https://amelie-jaaoo.blogspot.com /2012/02/blog-post.html. [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565].
พูนพิศ อมาตยกุลและคณะ. (2551). จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์. (2536). สถานภาพของนักปี่พาทย์ในสังคมไทย พ.ศ. 2411 – 2468. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์. (2550). วัฒนธรรมบันเทิงในชาติไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
ยศ สันตสมบัติ. (2544). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
อัศนีย์ เปลี่ยนศรี. (2555). ย้อนอดีตจากการประชัน...สู่การประกวดดนตรีไทย. วารสารศิลปกรรมสาร. 7(1), 101 – 114.
อัษฎาวุธ สาคริก และอานันท์ นาคคง. (2547). หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มหาดุริยกวีลุ่มเจ้าพระยาแห่งอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
H. Spencer. (1956). The Principle of Psychology. New York: Appleton.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.