การถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวซออู้ เพลงแขกมอญ สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) กรณีศึกษา ครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ

ผู้แต่ง

  • สุรพงษ์ บ้านไกรทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจําภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชญานนท์ ศรีอนันต์ นักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

The Transmission, Khaek Mon Sam Chan , Luang Phairoh Seangsaw (Un Durayachiwin)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวซออู้ เพลงแขกมอญ สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) กรณีศึกษา ครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์

ผลการวิจัย พบว่า 1) ประวัติและองค์ความรู้ซออู้ของผู้สอน ครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ เริ่มเรียนดนตรีไทยจากบิดา และได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์กับครูหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ได้รับการถ่ายทอดเดี่ยวซออู้ เพลงสุดสงวน สามชั้น และเพลงแขกมอญ สามชั้น 2) วิธีการคัดเลือกลูกศิษย์ และคุณสมบัติของลูกศิษย์   ครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ จะคัดเลือกลูกศิษย์ที่มีความสนใจในเครื่องดนตรีแต่ละชนิด 3) องค์ความรู้เกี่ยวกับการบรรเลงเดี่ยวซออู้ เพลงแขกมอญ สามชั้น เดี่ยวซออู้ ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูริยะชีวิน) เป็นเพลงในอัตราจังหวะ สามชั้น หน้าทับปรบไก่ มีจำนวน 3 ท่อน ท่อนละ 6 จังหวะหน้าทับ แต่จะมีการใช้หน้าทับมอญและ หน้าทับแขกแทรกอยู่ 4) การถ่ายทอด มีการฝากตัวเป็นศิษย์ ถ่ายทอดเป็นแบบมุขปาฐะไปทีละวรรคทีละท่อน

References

ครูบ้านนอกดอทคอม. (2551). ความหมายของวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. ได้จาก: https:// www.kroobannok .com/1609. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2566].

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2562). ประวัติดนตรีไทยศึกษา : มุมมองทางทฤษฎีการศึกษา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 20(2), 35.

ทิพย์ฤทัย อยู่คง. (2561). ศึกษาเดี่ยวซอด้วงเพลงพญาโศก สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน). วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 10(4), 101-106.

บรรเลง สาคริก. (2503). ศิลปะของการดนตรีและละคอน. ใน อันเพลงไทยใช่จะไร้ในคุณค่า. กรุงเทพมหานคร: สามัญนิติบุคคลไทยวัฒนาพานิช.

พิชิต ชัยเสรี. (2532). หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน). ใน นามานุกรมศิลปินเพลงไทยในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้ว.

สุรชัย เครือประดับ. (2516). ขับลำบรรเลงเป็นเพลงเถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิฆเณศ.

สุรพงษ์ บ้านไกรทอง. (2558). การบรรเลงเดี่ยวซอสามสายของครูเอกสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

เสาวลักษณ์ คำจันทร์. (2563). การถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวซออู้ เพลงสุดสงวน สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) กรณีศึกษาครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ. ดนตรีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีไทยศึกษา วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-07-2024