การสร้างแบบฝึกหัดฆ้องวงใหญ่ขั้นพื้นฐานทักษะด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จากแนวคิดของอาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก สำหรับนักเรียนชมรมดนตรีไทย โรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดเก่า

ผู้แต่ง

  • วงศ์วสันต์ วสันตสุรีย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • จิรายุ รังสิมันตุชาติ ครูดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่

คำสำคัญ:

การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ , ฆ้องวงใหญ่ , อาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกหัดทักษะฆ้องวงใหญ่ขั้นพื้นฐานด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จากการศึกษาแนวคิดของอาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้แบบฝึกหัดทักษะฆ้องวงใหญ่ขั้นพื้นฐานด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จากการศึกษาแนวคิดของอาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกหัดทักษะฆ้องวงใหญ่ขั้นพื้นฐานด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จากการศึกษาแนวคิดของอาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) แบบฝึกหัดทักษะฆ้องวงใหญ่พื้นฐาน จากแนวคิดของอาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก สำหรับนักเรียนชมรมดนตรีไทยโรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดเก่า เครื่องมือแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน เกี่ยวกับพื้นฐานฆ้องวงใหญ่พื้นฐานทั้งในด้านทฤษฎีและวัดประเมินทักษะทางด้านปฏิบัติ วัดประเมินระหว่างเรียนด้วยแบบฝึกหัดจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการใช้แบบฝึกหัดทักษะฆ้องวงใหญ่ขั้นพื้นฐานด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จากการศึกษาแนวคิดของอาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 7.2 และหลังเรียนเท่ากับ 18.5 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียน เท่ากับ 0.36 และหลังเรียน เท่ากับ 0.27 โดยมีนัยสำคัญสถิติ .05 จึงแสดงได้ว่าคะแนนหลังเรียนมากกว่าคะแนนก่อนเรียน การวิเคราะห์คะแนนระหว่างเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  18.2 โดยวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ได้เท่ากับ 91/92.5 จึงแสดงได้ว่า แบบฝึกหัดมีความน่าเชื่อถือสูง และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกหัดพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

References

ณัฐพล เลิศวิริยะปิติ. (2563). การสร้างแบบฝึกทักษะการตีฆ้องวงใหญ่:กรณีศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นสำนักดนตรีไทยบ้านอรรถกฤษณ์. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (ม.ป.ป). สารานุกรมเพลงไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

ปัญญา รุ่งเรือง. (2526). ประวัติการดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุมาลี นิมมานุภาพ. (2536). ดนตรีวิจักขณ์. กรุงเทพฯ : ภาควิชาดนตรีไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวรรณี เสนีย์. (2561). ประวัติโรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดเก่า. [ออนไลน์]. ได้จาก : https://sites.google.com/site/t1tkrabicity/history. [สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564].

อัษฎาวุธ สาคริก. (10 พฤศจิกายน 2564). สัมภาษณ์.

Isaansmile. (2557). เครื่องดนตรีไทย. [ออนไลน์]. ได้จาก : https://sites.google.com/site/jenjira8700/. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564].

Lib Artivle. (2563). ความรู้เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www.stc.ac.th/external_newsblog.php?links=300. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-07-2024