แนวคิดและการบรรเลงซอไทยในวงดนตรีเอเชียเซเว่น (ASIA7)
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการบรรเลงซอไทยในบทเพลงของวงเอเชียเซเว่น (ASIA7) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม คือ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ผู้ปฏิบัติ และนักวิชาการด้านดนตรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ อภิปรายและนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบการพรรณนาบรรยาย
ผลการวิจัย พบว่า วงเอเชียเซเว่น (ASIA7) มีความโดดเด่นด้วยการนำซอไทย และดนตรีพื้นบ้านเข้ามาสร้างสรรค์ในทุกบทเพลงและผสมผสานกับดนตรีสากลอย่างลงตัว สำหรับแนวคิดและวิธีการบรรเลงซอไทยในบทเพลง พบว่า การปรับระดับเสียงของซอไทย โดยส่วนใหญ่ในการบรรเลงจะตั้งสายเป็นคีย์ Bb A และ B เพื่อให้เกิดสำเนียงตามอารมณ์ของเพลง และเป็นโทนเสียงธรรมชาติของซอไทย ผู้บรรเลงเลือกใช้เทคนิคของซอทั้งแบบไทยและสากลเพื่อให้มีความเหมาะสม ทำนองเพลงที่สร้างสรรค์มีการสอดแทรกสำนวนกลอนที่เป็นลักษณะสำนวนของเพลงไทย และลักษณะของกลอนเพลงที่เป็นแบบสมัยนิยมสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ดังนี้ การบรรเลงแบบอิหลักอิเหลื่อ การบรรเลงเดี่ยวซอ Solo กลอนม้วนตะเข็บ สำนวนกลอนแบบเพลงเดี่ยว ทางเก็บ และการบรรเลงลูกล้อตามแบบของดนตรีไทย มีการปรับแต่งซอไทยให้มีความแข็งแรง ทนทาน เหมาะกับการใช้งานร่วมกับวงดนตรีร่วมสมัย ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเอฟเฟคเสียงเพื่อเพิ่มมิติและสีสันให้กับเสียงร้องหรือเสียงดนตรี ทำให้การฟังดนตรีมีความไพเราะและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
References
ชัยภัค ภัทรจินดา. (2566, 13 ตุลาคม). นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, นักดนตรีวงกอไผ่, ศิลปินศิลปาธร พ.ศ. 2565. สัมภาษณ์.
ชุมชน สืบวงศ์. (2552). วิเคราะห์เทคนิคการบรรเลงขลุ่ยเพลงพระราชนิพนธ์ โดยอาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เชาวน์มนัส ประภักดี และกิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2566). ดนตรีไทยร่วมสมัยในบริบทสังคมไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 43(2), 98-113.
ณัฐชยา นัจจนาวากุล. (2563). พลวัตการเปลี่ยนแปลงแบบแผนดนตรีไทยสู่ดนตรีไทยร่วมสมัย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 7(2), 40 – 53.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2566, 12 ตุลาคม). นักวิชาการสาขาดนตรีวิทยา, ที่ปรึกษาวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล, กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิราชสุดา. สัมภาษณ์.
เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี. (2566, 14 ตุลาคม). ผู้อำนวยการกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. สัมภาษณ์.
วริสร เจริญพงศ์. (2552). การสร้างสรรค์งานดนตรีกรรมแนวดนตรีไทยร่วมสมัย เพลง ลำนำเจ้าพระยา ของชัยภัค ภัทรจินดา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุภฤกษ์ พุฒสโร และนัฏฐิกา สุนทรธนผล. (2564). การเรียบเรียงดนตรีร่วมสมัยเพลง “ลมหนาว” โดย ชัยภัค ภัทรจินดา. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต. 16(1), 107-108
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.