ทางปี่ชวาและกระบวนการบรรเลงเพลงบัวลอยยามสอง ของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
คำสำคัญ:
วงบัวลอย, หลวงประดิษฐไพเราะ, ปี่ชวาบทคัดย่อ
งานวิจัย เรื่องทางปี่ชวาและกระบวนการบรรเลงเพลงบัวลอยยามสอง ของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทางปี่ชวาและกระบวนการบรรเลงเพลงบัวลอยยามสอง ของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และศึกษาบทบาทและความสำคัญของเพลงบัวลอยยามสองของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ในอดีตและปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์บุคคลที่สืบทอดทางเพลงชุดบัวลอยยามสองของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ พิณพาทย์ นายสันติ นักดนตรี และนายบุญมา มานะสืบ เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทางปี่ชวาเพลงบัวลอยยามสองของครูหลวงประดิษฐ-ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ประกอบด้วย 12 เพลง ดังนี้ 1. เพลงรัวสามลา 2. เพลงบัวลอย 3. เพลงนางหน่าย 4. เพลงชักฟืนสามดุ้น 5. เพลงรัวลาเดียว 6. เพลงไฟชุม 7. เพลงรัวลาเดียว 8. เพลงยะหรั่น 9. เพลงกระดีดี่ 10. เพลงบัดพลี 11. เพลงรัวลาเดียว 12. เพลงนางหงส์ (กาจับปากโลง) ทางปี่ชวามีลักษณะเฉพาะที่เป็นสำนวนกลอนทางปี่ชวา ทั้งหมด 12 สำนวน ดังนี้ 1. สำนวนกลอนตั้งหลักเริ่มต้นเพลง 2.สำนวนกลอนที่แสดงถึงความกระชับทำนอง 3. สำนวนกลอนที่ดำเนินทำนองช้าพยางค์ห่าง ๆ 4. สำนวนกลอนแสดงถึงการทอนทำนอง 5. สำนวนกลอนที่มีทำนองโลดโผน 6. สำนวนการสรุปประโยค 7. สำนวนกลอนที่ดำเนินทำนองเก็บพยางค์ถี่ ๆ 8. สำนวนกลอนที่มีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง 9. สำนวนกลอนที่เป็นการสะบัดรวบทำนอง 10. สำนวนกลอนที่เป็นลักษณะเพลงทยอย 11. สำนวนกลอนที่เป็นลักษณะการถามตอบในทิศทางเดียวกัน 12. สำนวนกลอนที่เป็นการลงจบ
2) บทบาทและความสำคัญของเพลงบัวลอยยามสองของครูหลวงประดิษฐ-ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ในอดีตโบราณมีการแบ่งเวลากลางคืนออกเป็น 4 ยาม ได้แก่ ยามหนึ่ง ยามสอง ยามสาม ยามสี่ เพลงบัวลอยยามสอง มีบทบาทในการบรรเลงประกอบพิธีกรรมงานศพ ยามสอง และยามสี่ ปัจจุบันใช้บรรเลงตอนฌาปนกิจศพ มีความสำคัญต่อศิษย์สายสำนักครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลป-บรรเลง) และวงการดนตรีไทย
References
ชูชาติ พิณพาทย์. (2564, 7 มกราคม). หัวหน้าสาขาวิชาการสอนนาฏยสังคีต มหาวิทยาลัยบูรพา. สัมภาษณ์.
ไชยวุธ โกศล. (2545). ดนตรีประโคมศพ : กรณีศึกษาเพลงบัวลอย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2559). ทฤษฎีลูกกระดอน. เอกสารประกอบการเรียนรู้ในวิชา ดุริยางค์ไทยสังเคราะห์ รหัสวิชา 40-3104 หลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาดุริยางค์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (อัดสำเนา).
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2559). ทฤษฎีความหวง. เอกสารประกอบการเรียนรู้ในวิชา ดุริยางค์ไทยสังเคราะห์ รหัสวิชา 40-3104 หลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (อัดสำเนา).
นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2526). สาส์นสมเด็จ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์การค้าของคุรุสภา.
บุญช่วย โสวัตร. (2525). อนุสรณ์งานเพลิงศพ นายเทียบ คงลายทอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
บุญตา เขียนทองกุล. (2548). ดนตรีในพระราชพิธี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.
บุญมา มานะสืบ. (2564, 18 กันยายน). ศิลปินจังหวัดเพชรบุรี. สัมภาษณ์.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2561) ทฤษฎีบ้านวัดวัง. เอกสารประกอบการเรียนรู้ในวิชา สุนทรียศาสตร์ทางดุริยางคศิลป์ไทย รหัสวิชา 402-105 หลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (อัดสำเนา).
ภมร ภู่ทอง. (2566, 4, มกราคม). ที่ปรึกษาชมรมดนตรีไทยมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สัมภาษณ์.
มานพ วิสุทธิแพทย์. (2556). ทฤษฎีการวิเคราะห์เพลงไทย. กรุงเทพฯ : สันติ ศิริการพิมพ์.
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2545). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
อนันต์ สบฤกษ์. (2553). บทบาทและหน้าที่ของปี่ในวงดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: ป.สัมพันธ์วานิชย์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.