การศึกษาการประพันธ์ทำนองท่อนโซโล่กีตาร์ของ วงแทททูคัลเลอร์ กรณีศึกษา อัลบั้ม ฮองเซอ

ผู้แต่ง

  • ชนก วรรณกุล พงษ์พิทยา สัพโส และพรพรรณ แก่นอำพรพันธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การประพันธ์ทำนองท่อนโซโล่กีตาร์, รัฐ พิฆาตไพรี, แทททูคัลเลอร์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิชาการที่กล่าวถึงการศึกษาและวิเคราะห์การประพันธ์ท่อนโซโล่กีตาร์ทุกบทเพลงของวงแทททูคัลเลอร์ (Tattoo Colour) อัลบั้ม ฮองเซอ (Hong Ser) ในการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นวิเคราะห์การประพันธ์ทำนองในท่อนโซโล่กีตาร์ของเพลงที่อยู่ในอัลบั้มนี้ทั้งหมด 10 บทเพลง การศึกษาทำการวิเคราะห์ 1.แนวทำนอง (Melody) พบว่ามีการใช้โน้ตทั้งในบันไดเสียงหลักและบันไดเสียงมีความสัมพันธ์กัน (Relative Key) แนวทำนองของการโซโล่มักเริ่ม
จากตัวโน้ตที่มีระดับเสียงไม่สูงเกิน C6 จำนวน 9 เพลง มีการใช้เทคนิคการดันสายกีตาร์ทั้งการดันสายแบบครึ่งเสียงและหนึ่งเสียงเต็ม มีการใช้วิธีการดีดโน้ตในคอร์ดในลักษณะของขั้นคู่โดยใช้การเล่นแบบควบสองสายสลับกับการโซโล่แบบโน้ตตัวเดียว 2.ทางเดินคอร์ด (Chord Progression) พบว่าผู้ประพันธ์เลือกใช้ทางเดินคอร์ดส่วนใหญ่แบบ IV / iii / ii / V7 / I ของกุญแจเสียงในเพลง มีการนำคอร์ดมาจากระบบทางเดินคอร์ดแบบอื่นที่มีความสัมพันธ์กันกับกุญแจเสียงมาใช้ เช่น การนำคอร์ดจากระบบโหมดอื่นมาใช้ ระบบคอร์ดโดมินันท์ระดับสอง และการเปลี่ยนกุญแจเสียง และ 3.ลักษณะของสัญญาณเสียง (Sound) มีการใช้ลักษณะของเสียงกีตาร์ประเภทโอเวอร์ไดรฟ์ (Overdrive) เป็นหลัก พบเพียง 2 เพลงที่เป็นกีตาร์อะคูสติกและกีตาร์สายไนลอน และมีการใช้ลักษณะเสียงแบบอื่นๆ ได้แก่ เสียงแบบหมุนวน(Rotary) มีการเพิ่มเสียงตาม (Delay) และเสียงสะท้อน (Reverb) เล็กน้อยการศึกษาครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านที่มีความสนใจในการประพันธ์เพลงในรูปแบบดนตรีสมัยนิยม (Popular Music) นำไปศึกษาและพัฒนาทักษะของตนต่อไป 

References

กวิทธิ์ ศรีสัมฤทธิ์. (2552). ความพึงพอใจในการฟังเพลงอินดี้ทางอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กฤติน นกแก้ว. (2563). การวิเคราะห์ผลงานการประพันธ์เพลงสมัยนิยมของ ประภพ ชมถาวร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต. (2560). รัฐ พิฆาตไพรี: มือกีตาร์ผู้เขียนแผนที่ให้ทุกบทเพลงของ Tattoo Colour. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://adaymagazine.com/lyrics-8. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565].

The People. (2565). รัฐ Tattoo Colour: มือกีตาร์กับปลายปากกาที่ไม่เคยเก่า. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.thepeople.co/read/culture/41261.

[สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565].

Thomas International (Thailand) Co.,Ltd. (2021). รัฐ พิฆาตไพรี ruzzy ผลผลิตจากการฝึกซ้อมอย่างหนักคือ “ความสำเร็จในวันนี้”. [ออนไลน์].

ได้จาก: https://thomasthailand.co/activity/ruzzy-tattoocolour/. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-06-2023