การศึกษาและสืบสานภูมิปัญญาช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาการผลิตเครื่องดนตรีไทย, ช่างผลิตเครื่องดนตรีไทย, เครื่องดนตรีไทยประเภทตีบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ช่างศิลป์ท้องถิ่นประเภทงานช่างเครื่องดนตรีไทยโดยการสัมภาษณ์และสังเกตอย่างมีส่วนร่วม นำเสนอผลการสังเคราะห์และวิเคราะห์องค์ความรู้ของช่างผลิตเครื่องดนตรีไทย (ประเภทเครื่องตี) แล้วนำมาเรียบเรียงและเผยแพร่ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสำรวจข้อมูลช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีในพื้นที่ภาคกลางอย่างเป็นระบบ 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ การผลิตเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีจากช่างภูมิปัญญาเครื่องดนตรีไทยภาคกลาง 3) เผยแพร่องค์ความรู้ช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยสู่สังคม เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เชิงเศรษฐกิจและสังคม ด้วยกระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการ
ผลของการวิจัยพบว่า พื้นที่ภาคกลางมีช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี (ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพนไทย) กระจายอยู่ในหลายจังหวัด อาทิ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครปฐม พระนครศรีอยุธยา เพชรบูรณ์ นครนายก อ่างทอง และสมุทรสาคร เป็นต้น การดำเนินงานช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยส่วนใหญ่เป็นลักษณะธุรกิจครอบครัวที่มีการสืบทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตเครื่องดนตรีไทยและการบริหารงานจากรุ่นสู่รุ่น บางรายมีแนวโน้มในการดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต แต่บางรายมีแนวโน้มในทางตรงกันข้ามเนื่องจากสภาพความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจึงยึดอาชีพช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยเป็นเพียงอาชีพเสริมเท่านั้น ปัจจัยของความสำเร็จในอาชีพช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยของช่างแต่ละท่านในการวิจัยครั้งนี้คือ ความรู้ที่แตกฉาน มีความเชี่ยวชาญในกระบวนการผลิต โดยช่างจะให้ความสำคัญกับกระสวนซึ่งใช้เป็นแบบในการสร้างเครื่องดนตรีที่ได้รับการสืบทอดมา บางท่านมีการพัฒนากระสวนที่ใช้สร้างเครื่องดนตรีให้เป็นอัตลักษณ์ของตนเองจนเป็นที่ยอมรับของกลุ่มนักดนตรีไทย ความรู้ด้านการผลิตเครื่องดนตรีไทยของช่างแต่ละท่านจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่การอนุรักษ์และสืบสาน จึงได้มีการขยายผลงานวิจัยสู่สังคมโดยการจัดโครงการให้นักศึกษาวิชาชีพดนตรีไทยและผู้สนใจทั่วไปได้ฝึกปฏิบัติการผลิตเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เพื่อให้เกิดความตระหนักในความสำคัญของภูมิปัญญาการผลิตเครื่องดนตรีไทยและการประกอบวิชาชีพช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยในอนาคต ทำให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาการผลิตเครื่องดนตรีไทยต่อไป
References
พิณทิพย์ ขาวปลื้ม และคณะ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรช่างผลิตเครื่องดนตรีไทย (เครื่องเป่า) จ.นนทบุรี. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น งบประมาณของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564.
วิมล ดำศรี. (2554). การสืบสานภูมิปัญญาไทย คลังข้อมูลดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/311. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2565].
สถาบันช่างศิลป์. (2566). แผนที่ช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยในภาคกลาง. นิทรรศการ “อภิวัฒน์มรดกไทย” โดย “ธัชชา” จัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ครั้งที่ 18 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 1 ภาคเหนือ. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564).“เหตุการณ์เล่าเรื่อง : วิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย.” อนุสารอุดมศึกษา. 47(513), 12 – 14.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2553). ความรู้ที่ชัดแจ้งและความรู้ซ่อนเร้น. [ออนไลน์] ได้จาก:https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/explicit-tacit-knowledge/. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.