คุณภาพชีวิตนักดนตรีอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ครวัตร เชื่อมกลาง จินดา แก่นสมบัติ สุรศักดิ์ หาญธีระพิทักษ์ และ สุวิชชาน อุ่นอุดม อาจารย์สาขาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, นักดนตรีอาชีพ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของนักดนตรีอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักดนตรีอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 256 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง การศึกษาจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของนักดนตรีอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวัตถุวิสัยมีค่าเฉลี่ยมาก  ( = 3.53 , S.D.=.83)  2) ด้านจิตวิสัยมีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง ( = 3.42 , S.D.=.76) ความต้องการของนักดนตรีอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก   ( = 4.27, S.D.=.79) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D.=.85) รองลงมาคือด้านอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D.=.81) และมีความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.16, S.D.=.76) ผลจากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา แบ่งเป็นด้านร่างกายสมบูรณ์ดี แต่บางคนมีโรคประจำตัว และส่วนใหญ่พักผ่อนไม่เพียงพอ ด้านจิตใจมีการถูกกดดันจากนายจ้าง แต่ส่วนใหญ่มุ่งสมาธิไปที่การทำงาน ด้านสัมพันธภาพทางสังคมมีการเอื้อเฟื้อจากนายจ้างและเพื่อนร่วมงาน มีกิจกรรมร่วมกันเสมอ ด้านสิ่งแวดล้อมหลายที่ค่อนข้างดี และทุกสถานที่มีมาตรการป้องกันโรคระบาดอย่างเคร่งคัด

References

เฉลิมพล แป้นจันทร์ . (2559). ภาษา-ครู-ยาเสพติด-โอกาส-วัฒนธรรมอุปสรรคบนเส้นทางการศึกษาของนักเรียน 3 จังหวัดชายแดนใต้.[ออนไลน์]. ได้จาก : http://news.thaipbs. or.th. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2563].

ทวิช กุลวงษ์. (2556). เส้นทางชีวิตสู่การเป็นนักดนตรีมืออาชีพในผับ. นครปฐม :มหาวิทยาลัยมหิดล.

ราเชนทร์ เหมือนชอบ. (2550). นักดนตรี : ชีวิตบนวิถีการพัฒนา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์. นนทบุรี : ศูนย์วิจัยและพัฒนา วิทยาลัยราชพฤกษ์.

สุกรี เจริญสุข. (2549). บริหารจินตนาการ : กรณีศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์. มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

UNESCO. (1980). Evaluation the Quality of life in Belgium. Social Indicators Research. 8(3), 311-326.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-06-2023