กลวิธีการบรรเลงฆ้องวงใหญ่เพลงเดี่ยวแขกมอญ สามชั้น กรณีศึกษาครูสุบิน จันทร์แก้ว
คำสำคัญ:
กลวิธีการบรรเลงฆ้องวงใหญ่, เพลงแขกมอญ , สุบิน จันทร์แก้วบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างของเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแขกมอญ สามชั้น กรณีศึกษาครูสุบิน จันทร์แก้ว และศึกษากลวิธีการบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแขกมอญ สามชั้น กรณีศึกษาครูสุบิน จันทร์แก้ว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และทำการวิเคราะห์ตามหลักวิชาทางดุริยางคศิลป์ไทย ผลการวิจัยพบว่า เพลงเดี่ยวแขกมอญ สามชั้น ทางฆ้องวงใหญ่ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้เรียบเรียงเป็นเพลงสำหรับเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ตามศักยภาพของครูสุบิน จันทร์แก้ว มีทั้งหมด 6 เที่ยว โดยเฉพาะท่อนที่ 2 เที่ยวแรก บรรเลงเพียง 3 จังหวะต้น เนื่องจาก 3 จังหวะท้ายเป็นทำนองที่ซ้ำกันทั้ง 3 ท่อน โดยเขียนโครงสร้างได้ดังนี้ A(ab) A'(a’b’) B(c) B’(c’b’’) C(db’’’) C’(d’b’’’’)
กลวิธีการบรรเลงฆ้องวงใหญ่เพลงเดี่ยวแขกมอญ สามชั้น พบทั้งหมด 12 ลักษณะ ได้แก่ 1) การตีสะบัดลงทำนองติดกัน 2) การตีลูกสะเดาะสองเสียง 3) การตีลูกสะเดาะเสียงเดียว 4) การตีลูกกวาดจากเสียงสูงลงมาหาเสียงต่าง ๆ 5) การตีลูกกวาดจากเสียงต่ำขึ้นมาหาเสียงต่าง ๆ 6) การตีลูกกวาดเสียงสูงลงมาหาเสียงต่าง ๆ โดยมีทำนองติดกัน 7) การตีลูกเฉี่ยวข้ามเสียง 8) การตีลูกเฉี่ยวทำนองติดกัน 9) การตีไล่เสียงสลับกับลูกขยี้ 10) การตีลูกถ่างคู่ต่าง ๆ 11) การตีทำนองสำเนียงมอญ 12) การตีทำนองสำเนียงแขก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.