ลักษณะการดำเนินทำนองเพลงไทยที่เกี่ยวข้องกับน้ำ
คำสำคัญ:
การดำเนินทำนองเพลงไทย, เพลงไทยที่เกี่ยวกับน้ำบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง “การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: เพลงตับเรื่อง “วิถีชีวี นทีสยาม” โดยตอบวัตถุประสงค์เรื่อง ลักษณะการดำเนินทำนองเพลงไทยที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือสำคัญ 5 เล่ม สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดุริยางศิลป์ไทย 4 ท่าน นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการเลือกประเด็น (Selective Approach) ตามแนวทางของรองศาสตราจารย์พิชิต ชัยเสรี ผลการวิจัยพบว่า เพลงที่เกี่ยวข้องกับน้ำมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ เพลงโหมโรง 1 เพลง เพลงหน้าพาทย์ 2 เพลง เพลงสามชั้น 3 เพลง และเพลงเกร็ด 18 เพลง ผลการศึกษาพบลักษณะสำคัญ 3 ประการ ประการแรก เรื่องการกำหนดทางทั้ง 7 สำหรับเพลงหน้าพาทย์มักใช้ทางในเป็นหลัก ส่วนเพลงโหมโรง เพลงสามชั้น และเพลงเกร็ด มักใช้ทางเพียงออบนเป็นหลัก มีปรากฏทางอื่น ๆ บ้าง ได้แก่ ทางเพียงออล่าง ทางชวา และทางนอก ประการที่สอง ลักษณะแนววิถีของทำนองเพลงโดยส่วนใหญ่มักจะกำหนดเป็นวิถีขึ้นและลงสลับกันไป โดยส่วนใหญ่จะมีสำนวนปิดท้ายประโยคด้วยแนววิถีลง ประการที่สาม ลักษณะของทำนอง พบทำนองเพลงที่แสดงถึงน้ำที่มีความสงบมักจะดำเนินทำนองกลับมาจบที่เสียงโทนิคของทางที่กำกับ ยกเว้นทำนองเพลงที่แสดงความปั่นป่วนของน้ำหรือน้ำที่ไม่ราบเรียบพบลักษณะพิเศษกล่าวคือ มักกำหนดในทางตรงข้ามปรากฏการใช้ทำนองที่เป็นสำนวนปิดในส่วนต้นเพลงแต่กลับจบด้วยสำนวนปลายเปิด และปรากฏการใช้เสียงโดดเด่น (Pillar Tone) ซึ่งไม่มีการกลับมาจบที่เสียงหลักของทางนั้น ๆ นอกจากนี้ยังปรากฏทำนองลักษณะลูกล้อ ลูกขัด ลูกเหลื่อม ที่แสดงลักษณะลมที่กระทบทำให้น้ำเกิดคลื่น หรือเสียงคลื่นเมื่อกระทบกับหิน ปรากฏชัดในเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง
References
ไชยยะ ทางมีศรี. ผู้ชำนาญการพิเศษ กลุ่มดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร. (9 พฤษภาคม 2565). สัมภาษณ์.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2542). สารานุกรมเพลงไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
ประสิทธิ์ ถาวร. (2546). หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายประสิทธิ์ ถาวร (ศิลปินแห่งชาติ). กรุงเทพฯ: ไอเดียสแควร์.
ปี๊บ คงลายทอง. ศิลปินแห่งชาติ. (10 พฤษภาคม 2565). สัมภาษณ์.
พิชิต ชัยเสรี. (2559). สังคีตลักษณ์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_________. (2556). การประพันธ์เพลงไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. งานพระราชทานเพลิงศพ ขุนทรงสุขภาพ (นายแพทย์ทรง บุณยะรัตเวช) ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยเขษม.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2550ก). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติและบทร้องเพลงตับ ประวัติเพลงหน้าพาทย์ และเพลงโหมโรง. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
____________. (2550ข). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติเพลงเกร็ดและเพลงละครร้อง. นนทบุรี: ซี.วาย.ซิซเทิม พรินติ้ง.
____________. (2549). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติและบทร้อง เพลงเถา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.