บทเพลงสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: พระธาตุดอยตุง
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์
ความเป็นมาพระธาตุดอยตุง บทเพลงที่ประกอบพิธีกรรม ณ พระธาตุดอยตุง เพื่อ
พัฒนาสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: พระธาตุดอยตุง ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้
วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์
ผลการวิจัยพบว่า บทเพลงที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในงานประเพณีนมัสการ
และสรงน้ำพระธาตุดอยตุง มีด้วยกัน 3 เพลง คือ เพลงแห่น้อย เพลงแห่เมือง
(เชียงแสนหลวง) และเพลงบวงสรวงขะหมุกินน้ำบ่าป้าว บรรเลงด้วยวงป้าดก๊อง
และวงสะล้อซอซึง ได้พบประเด็นสำคัญเรื่องสังคีตลักษณ์ บันไดเสียง และจังหวะ
ใช้จังหวะหน้าทับพื้นเมือง และจังหวะหน้าทับแห่ ซึ่งเป็นหน้าทับเฉพาะที่ใช้บรรเลง
ในบทเพลงนี้ จากการวิเคราะห์บทเพลงทั้ง 3 เพลง พบบันไดเสียงกลุ่มเสียงปัญจมูล
เสียงเพียงออบน เสียงเพียงออล่าง เสียงชวา และเสียงกลาง ซึ่งบทเพลงมีเสียงหลุม
หรือเสียงนอกบันไดเสียงมาร่วมเรียงร้อยเป็นทำนอง เพื่อให้เกิดความไพเราะ
อ่อนหวานและโดดเด่นขึ้นมา แสดงเอกลักษณ์ในทำนองเพลงให้เกิดความสมบูรณ์
เป็นบทเพลงที่ใช้บรรเลงในช่วงพิธีกรรมนมัสการและสรงน้ำพระธาตุ ผู้วิจัยสามารถ
นำสังคีตลักษณ์ในเรื่องของกระสวนทำนอง จังหวะหน้าทับ และกลุ่มเสียงที่พบมา
เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: พระธาตุดอยตุง
References
ชินณวุฒิ วิลยาลัย. (ม.ป.ป.). พลิกประวัติศาสตร์พระธาตุดอยตุง. กรุงเทพมหานคร: นุชาการพิมพ์.
ทิว วิชัยขัทคะ. (2534). ดอยตุงกับพระมหาชินธาตุเจ้า. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประชากิจกรจักร, พระยา. (2557). พงศาวดารโยนก. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา.
พิชิต ชัยเสรี. (2556). การประพันธ์เพลงไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______ . (2559). สังคีตลักษณ์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2552). ตํานานพระธาตุดอยตุงเมืองเชียงแสน.กรุงเทพมหานคร: ถาวรกิจการพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.