ดนตรีปฏิบัติ : การถ่ายทอดทักษะดนตรีตะวันตกโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ (สปป.ลาว)

ผู้แต่ง

  • รภัสสรณ์ พุฒิชวัลพัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาดุริยางค์สากล วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ดนตรีปฏิบัติ, การถ่ายทอด, โรงเรียนศิลปะแห่งชาติ

บทคัดย่อ

การศึกษาดนตรีในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น  มีการศึกษาดนตรีพื้นเมืองเป็นหลัก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ เพื่อการพัฒนาสู่อาเซียนก้าวสู่ความเป็นสากลทางด้านดนตรี จึงได้มีการนำเครื่องดนตรีตะวันตกเข้ามาจัดการเรียนการสอนทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ให้นักเรียนได้มีความรู้ความสามารถทั้งทฤษฎีและปฏิบัติดนตรีอย่างถูกต้อง

จากการเข้าเยี่ยมชมโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ สปป.ลาว ซึ่งเป็นสถานศึกษาเกี่ยวกับงานศาสตร์และศิลป์ทั้งทางดนตรี นาฏศิลป์ และศิลปะ โดยการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาทักษะปฏิบัติกลุ่มเครื่องดนตรีตะวันตกถึงแนวทางการถ่ายทอดทักษะดนตรีในวิชากลุ่มเครื่องดนตรีตะวันตก ได้แก่ กลุ่มเครื่องเป่า กลุ่มเครื่องกระทบ  กลุ่มเครื่องสาย กลุ่มการขับร้อง และเปียโน โดยมีระบบการเรียนการสอนที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมของลาว มีกระบวนการถ่ายทอดการฝึกทักษะการปฏิบัติในหลักสูตรตั้งแต่ระดับพื้นฐานถึงระดับสูงตามเกณฑ์มาตรฐานที่ครูผู้สอนกำหนดและสามารถปฏิบัติรวมวงพร้อมแสดงต่อสาธารณะได้

References

ธงชัย สมบูรณ์. (2550). การศึกษาของประเทศไทยในเอเซีย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ท้าวทิบพะจัน แก้วพิลาวัน. (2 พฤศจิกายน 2561). สัมภาษณ์.

สมจิตร ไสสุวรรณ. (2548). การดนตรีศึกษาในสถาบันการศึกษาของรัฐ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.

สิทธิกร สุมาลี. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรของประเทศสมาชิกในกุล่ม ประชาคมอาเซียนเพื่อการเทียบโอนผลการเรียนและเทียบวุฒิการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 27(2), 13-52.

สีมาลา ลียงวา. (2557). แนวทางการพัฒนาครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาในนครหลวงเวียงจันทน์แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว). วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-11-2023