สังเขปการพัฒนาเครื่องดนตรีออร์แกน สู่ยามาฮ่า อิเลคโทนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ทวี จิตไพศาลวัฒนา นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ประวัติคีย์บอร์ด, ออร์แกนไฟฟ้า, ยามาฮ่า อิเลคโทน

บทคัดย่อ

การศึกษาประวัติศาสตร์ทางด้านศิลปะ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาชีวิต  ในปัจจุบันอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการศึกษาบทความทางวิชาการที่มีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ และเป็นแนวทางให้กับนักวิจัย หรือผู้สนใจต่อไปได้ ขณะที่ข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของออร์แกน ถึงการเข้ามาสู่ออร์แกนไฟฟ้า อิเลคโทนในประเทศไทยนั้นมีจำนวนน้อย บทความวิชาการนี้จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พัฒนาวงการวิชาการให้มีแหล่งที่สามารถอ้างอิงได้เพิ่มเติม และเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ มีบทความที่ชัดเจน และเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นต่อไป ออร์แกนที่คล้ายกับปัจจุบันนั้นเกิดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเข้าสู่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 หลังจากมนุษย์ได้ค้นพบหลักการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า จึงเกิดเป็นออร์แกนสมัยใหม่ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแทนพลังงานจากมนุษย์ ถัดมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ออร์แกนไฟฟ้าได้ถือกำเนิดขึ้นเครื่องสร้างเสียงจากจานเสียง (Tonewheel) โดย ลอเลนส์ แฮมมอน (Laurens Hammond, 1895-1973) ได้ประดิษฐ์ และออกขายเป็นคนแรก อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของการพัฒนาไปสู่อิเลคโทนที่สร้างขึ้นในประเทศญี่ปุ่น จากความหลงไหล ในเครื่องดนตรีออร์แกนของ โทราคุสุ ยามาฮะ (Torakusu Yamaha, 1851-1916) ที่อยากสร้างเครื่องดนตรีเป็นของตนเอง โดยหวังว่าคนญี่ปุ่นจะได้มีเครื่องดนตรีที่มีคุณภาพ ราคาประหยัดใช้กันทุกบ้าน ในการบริหารรุ่นต่อ ๆ มา วิสัยทัศน์ได้ก้าวไกลขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่การพัฒนาทางด้านอุปกรณ์ดนตรีเท่านั้น แต่ยังพัฒนาหลักสูตร           การเรียนดนตรี และการแสดงระดับนานาชาติที่เป็นแหล่งให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ระหว่างกันใน 40 กว่าประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยก็ประเทศหนึ่งที่ได้รับหลักสูตร และเครื่องดนตรีมาปรับใช้ให้ประเทศพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

References

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่. ใน เอเชีย เล่ม 2 อักษร C-D (หน้า. 700). กรุงเทพ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สยามกลการ. (2555). 60th Anniversary Siam Motors. กรุงเทพฯ. บริษัท สยามกลการ.

สยามดนตรียามาฮ่า. (2562). Corporate Information. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://th.yamaha.com/th/about_yamaha/corporate/index.html. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2562].

Bush, D., & Kassel, R. (2006). The Organ: An encyclopedia. New York: Routledge.

Chisholm, H. (1911). Encyclopedia Britannica. In "Michael Faraday". 11th ed., 173-175. Cambridge: Cambridge University.

Diapason, T. (1938). Hammond is Ordered to 'Cease and Desist'. The Diapason.

Electone Zone. (2006). Electone Museum. [Online]. Available from: http://www.ggbmusic.com/museum/. [9 August 2019].

Faragher, S. (2011). The Hammond Organ: An introduction to the instrument and the players who made it famous. Hal Leonard Books.

Gambrel, E. (2017). Sources of Enegry from the 1800s. [Online]. Available from: https://sciencing.com/sources-energy-1800s-8126819.html. [10 August 2019].

Hamanako Institute Corporation. (2012). Kawakami Mikaichi. [Online]. Available from: http://www.hamamatsubooks.jp/en/category/ detail/4cf5d43ae5b69.html. [10 August 2019].

Hammond. (2019). Products/B-3 mk2. [Online]. Available from: http://www.hammondsuzuki.com/images/newb3-21.png. [10 August 2019].

Kirby, R. S. (1990). Engineering in History. New York: Dover Publications.

Kwan, T. (2015). The heritage of the future: Historical keyboards, technology, and modernism. Doctor of Philosophy in Music University of California, Berkeley, Califonia.

Praetorius, M. (1620). Syntagma Musicum. Wittenberg: Wolfenbüttel.

Robjohns, H. (2003). Hammond B3: Modelled Electromechanical Tonewheel Organ. [Online]. Available from: https://www.soundonsound .com/reviews/hammond-b3. [10 August 2019].

The Music Trades. (2010). Yamaha Marks 50 Years In The U.S.. [Online]. Available from: http://digitaleditions.sheridan.com/ [8 August 2019].

The Music Trades. (2013). Yamaha Amazing 125 Year Saga. New Jersey:The Music Trade.

Windsor, H. H. (1939). Blazing New Trails for Music. Popular Mechanics. 72(2), 200-209.

Yamaha Corporation. (2012). エレクトーン・キーボード[Electone Keyboard]. [Online]. Available from: https://jp.yamaha.com. [8 August 2019].

Yamaha Corporation. (2016). Electone STAGEA Owner's Manual. Tokyo: Yamaha Publishing.

Zhang, G., Zhang, B., & Li, Z. (2018). A Brief History of Power Electronics Converters. In Designing Impedance Networks Converters, 1-6. Springer.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-11-2023