การเป่าแคนประกอบลำคอนสะหวัน ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • ปิยะนันท์ แนวคำดี อาจารย์สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ธนบูลย์ สินทร อาจารย์สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การเป่าแคนประกอบลำ, ลำคอนสะหวัน, ทำนองแคน

บทคัดย่อ

การเป่าแคนประกอบศิลปะการแสดงประเภทการลำประจำในแต่ละท้องถิ่น ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แขวงสะหวันนะเขต โดยศิลปะการลำที่เป็นวัฒนธรรมประจำแขวงมีอยู่ 4 ทำนอง ประกอบด้วยลำบ้านซอก ลำคอนสะหวัน ลำภูไท และลำตั่งหวาย บทความนี้ผู้เขียนได้เลือกการเป่าแคนประกอบลำคอนสะหวันมาเพื่อศึกษาวิเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์ระบบเสียงและทำนองแคนที่เป่าประกอบลำคอนสะหวัน 2) วิเคราะห์การเป่าแคนประกอบลำคอนสะหวัน ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเก็บข้อมูลภาคสนามและรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสังเกต จัดกระทำข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระบบเสียงและทำนองแคนที่เป่าประกอบลำคอนสะหวัน หมอลำฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ระบบเสียง มี 5 เสียง อยู่ในลายแคนทางสั้นเหมือนกันและเป็นทำนองอันเดียวกัน ทำนองหลักของแคนมีลักษณะเป็นทำนองสั้น ๆ  4 จังหวะ และพัฒนาทำนองหลักแบบการขยายทำนอง อีกทั้งมีการประดับตกแต่งทำนอง ด้วยการพรมนิ้ว (Trill) 2) การเป่าแคนประกอบลำคอนสะหวัน หมอแคนเป่าแคนเป็นประโยค ประโยคละ 4 จังหวะ หมอลำเริ่มลำเข้าที่จังหวะสุดท้ายจากประโยคของทำนองแคน

References

เจริญชัย ชนไพรโรจน์. (2526). ดนตรีและการละเล่นอีสาน. มหาสารคาม : ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เจริญชัย ชนไพรโรจน์. (2561). กลอนลำ หมอลำ. หนังสือประกอบการสัมมนาวิชาการ ขอนแก่น ลาวศึกษา ในหัวข้อ“แคน”, มนต์เสน่ศิลปวัฒนธรรมอีสาน – ลาว. ณ โรงแรมราชาวดี รีสอร์ทแอนด์ โฮเทล ขอนแก่น, 159-185.

เจริญชัย ชนไพรโรจน์. (2562). กลอนขึ้นในกลอนลำทางสั้นกลอนลำทางยาวฉันทลักษณ์ เนื้อหาและทำนอง. ในการประชุมวิชาการระดับชาติศรีโคตรบูรณ์ศึกษา ครั้งที่ 1 “แลสายน้ำโขงกับงานวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น”. ณ ห้อง ประชุมพนมศิลป์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เขตพื้นที่การศึกษามรุกขนคร มหาวิทยาลัยนครพนม ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม, 716- 747.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2551). ดนตรีลาวเดิม. ขอนแก่น : ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณรัณฐณภรณ์ พงษ์นิล. (2555). การขับลำท้องถิ่นในภาคกลางของประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โยธิน พลเขต. (2557). การเป่าแคนประกอบลำบ้านซอก แขวงสะหวันเขด ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมัยพร ฉ่ำชื่น. (2562). แปลบทปาฐกถาภาษาอังกฤษ ในหัวข้อ การก้าวข้ามพรมแดนทางวัฒนธรรมดนตรี ของ ผศ.ดร.เจริญชัย ชนไพโรจน์. ในงาน ประชุมวิชาการนานาชาติสภาดนตรีโลก ครั้งที่ 45 คณะศิลปกรรม ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chonpairot, (1990). Lam Khon Sawan : A Vocal Genre of Southern Laos.Doctor’s Thesis, Kent, Ohio : Kent State University.

Compton, Carol J. (1975). Lam Khon Savan: A Traditional Form and a Contemporary Theme. Hawaii : University of Hawaii.

Miller, Terry E. (2008). The Garland Handbook of Southeast Asian Music. New York : Psychology Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-11-2023