การประสานเสียงในวงเครื่องสายไทย
คำสำคัญ:
วงเครื่องสายไทย, การประสานเสียงดนตรีไทยบทคัดย่อ
วงเครื่องสายไทยเป็นวงดนตรีที่มีเสียงนุ่มนวล เหมาะสำหรับบรรเลงในพื้นที่จำกัด รูปแบบการผสมวงดนตรีมีทั้งการบรรเลงในรูปแบบเดิมตามหลักดุริยางคศิลป์ และภายหลังได้มีการปรับรูปแบบของวงดนตรีให้สามารถนำไปใช้ประกอบการแสดง และต่อยอดไปสู่การประกวด
ผลการศึกษาพบว่า การปรับวงเครื่องสายไทยเพื่อการประสานเสียงกำหนดแนวทางดังนี้ (1) กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการปรับ (2) กำหนดโครงสร้างบทเพลง (3) กำหนดรูปแบบวง จำนวนเครื่องดนตรี บันไดเสียง จังหวะและวิธีสร้างสรรค์กลวิธีพิเศษ ส่วนการศึกษาข้อจำกัดพบว่า วงเครื่องสายไทยแต่ละวงมีข้อจำกัดสองประเภทคือ (1) ข้อจำกัดลักษณะเครื่องดนตรี คือ พื้นผิวของเสียงเครื่องดนตรี ซึ่งมีขอบเขตที่จำกัดในการสร้างสรรค์ทำนองประสานที่สอดคล้องกับลักษณะเสียงเครื่องดนตรี (2) ข้อจำกัดด้านพิสัยของเครื่องดนตรีที่บรรเลงบทเพลง ซึ่งนิยมใช้ในกลุ่มเสียงเพียงออล่าง เพียงออบน ชวา บางกรณีอาจใช้กลุ่มเสียงอื่น โดยภาพรวมมีการใช้โน้ตในพิสัยสองช่วงทบเสียงเป็นหลัก แนวทางการสร้างสรรค์การประสานเสียงเริ่มจากการปรับโครงสร้างทำนองเพลง การสอดทำนอง สร้างขั้นคู่แบบ 1: 1 โดยในการประสานสามารถกำหนดรูปแบบได้ 3 แบบ คือ แนวเดียว สองแนว และการแปรทำนองระหว่างเครื่องดนตรี ผู้ปรับวงต้องมีโสตทักษะที่สูงและการควบคุมวงให้พัฒนาสุนทรียภาพจากเดิมให้ได้รับความนิยมมากขึ้นในสังคมปัจจุบันและอนาคต อันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาการตลาดด้านดนตรีไทย
References
นิรุตร์ แก้วหล้า. (2563). วัฒนธรรมดนตรีชาติพันธุ์สู่การสร้างสรรค์ดนตรีร่วมสมัย: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ ม้ง ลีซู ลาหู่ ดาระอั้ง ปกาเกอะญอ. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 21(2), 197-218.
พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2565). สังคีตวิเคราะห์. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุธัญญ์ เอี่ยมแสงจันทร์. (2537). การสอดทำนอง. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ สาขาดนตรีศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 13, 29-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.