วงดิอิมพอสสิเบิลส์ : ตำนานวงดนตรีสมัยใหม่ในเมืองไทย
คำสำคัญ:
วงดิอิมพอสสิเบิลส์บทคัดย่อ
วงดิอิมพอสสิเบิลส์ เป็นวงดนตรีที่เริ่มต้นและสร้างปรากฏการณ์ทางดนตรีสมัยใหม่ในเมืองไทยในหลายด้าน มีพัฒนาการทางดนตรีมาอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็นช่วงเวลาที่ชัดเจนได้สามช่วง คือ ยุคเริ่มต้น ยุครุ่งเรือง และยุคสุดท้าย ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาก็มีพัฒนาการในการทำงานและสร้างสรรค์ผลงานดนตรีอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับอิทธิพลจากวงดนตรีทั้งจากฝั่งอเมริกาและยุโรปอยู่หลายวง เช่น The Beatles, The Rolling Stone, Elvis Psesley, Ray Conniff, Frank Sinata, Engelbert Humberdinck, Perry Como, Dean Martin และ Evrery Brother เป็นต้น วงดิอิมพอสสิเบิลส์มีรูปแบบการเรียบเรียงเสียงประสานทางดนตรีที่มีลักษณะเด่นในเรื่องของการใช้ จังหวะ (Rhythm) ฮาร์โมนี (Harmony) และทางเดินคอร์ด(Chord) ที่เด่นชัดและมีรูปแบบทางดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะการใช้คอร์ด รูปแบบการดำเนินคอร์ด โหมดของคอร์ด ทางเดินของคอร์ด ทำให้วงมีการพลิกแพลงในการใช้คอร์ดที่หลากหลาย ซึ่งวงดนตรีไทยในสมัยนั้นยังไม่มีการใช้คอร์ดที่พลิกแพลงมากเท่าในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นภาพสะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้น
References
กานท์ นิรนาม. (2527). พัฒนาการเพลงจากเพลงไทยถึงเพลงลูกทุ่ง. วิวัฒน์. 68, 42 - 48.
จ้อ ชีวาส. (ม.ป.ป.). เล่าขานตำนานร็อค. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โลกาภิวัฒน์การพิมพ์.
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางดนตรี. ขอนแก่น: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณวรา พิไชยแพทย์. (2553). การปรับกระบวนทัศน์ของอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐธัญ อินทร์คง. (2551). ลักษณะเฉพาะทางบทเพลง : กรณีศึกษาวงแกรนด์เอ็กซ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทวีสิทธิ์ ไกรวิจิตร. (2522). ดนตรีสากลในประเทศไทยในสังคีตนิยม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
นคร ถนอมทรัพย์. (2530). ความเป็นมาของเพลงลูกทุ่ง. วารสารถนนดนตรี. 1(5), 46-48.
ปนาพันธ์. (2534). ดนตรีวิวัฒน์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.
พิชัย วาสนาส่ง. (2546). เพลงเพลินใจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ.
ละเอียด เหราปัตย์. (2522). วิวัฒนาการของดนตรีสากล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสยาม.
วิจิตรมาตรา, ขุน. (2518). ยุคเพลงหนังและละครในอดีต. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์.
วิทยา ภู่บัว. (2542). อิทธิพลดนตรีอเมริกันที่มีต่อเพลงไทยสมัยนิยม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
วินัย พันธุรักษ์. (2561). สัมภาษณ์. กรุงเทพฯ.
ศรี อยุธยา. (2546). เอื้อ สุนทรสนาน ดุริยกวีสี่แผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้ากรุ๊ป.
สยามรัฐออนไลน์. (2561). "ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์" ลาแฟนเพลง คอนเสิร์ตส่งท้าย ก่อนปิดวงด้วยความประทับใจ. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://siamrath.co.th/n/51368. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564]
หหอนรรฆ จรัณยานนท์. (2546). พัฒนาการของระบบบันไดเสียงในดนตรีตะวันตก. วารสารเพลงดนตรี. 9(8), 28-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.