แนวทางการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อพัฒนาผู้เรียนดนตรี ในรายวิชาโสตประสาท ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนรู้ออนไลน์, โสตประสาท, ไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

แนวทางการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ในรายวิชาโสตประสาท ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางของการเลือกใช้สื่อออนไลน์ที่น่าสนใจต่อการฝึกโสตประสาท และสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมทักษะผู้เรียนในรายวิชาโสตประสาททั้งระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษาได้ ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคระบาด เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทางดนตรี และพัฒนาทักษะโสตประสาทอย่างสม่ำเสมอ และเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อพัฒนาการสอนรายวิชาโสตประสาท ผู้เขียนได้นำเสนอการใช้สื่อการเรียนรู้จากเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่น จำนวน 2 เว็บไซต์ โดยผู้เรียนสามารถฝึกฝนโสตประสาท เพื่อการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และเกิดความสะดวกในการใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ และเป็นสื่อออนไลน์ที่ใช้งานง่ายทั้งผู้เรียน และผู้สอน สามารถใช้ในการวัดและประเมินผลตามผลสัมฤทธิ์ของรายวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์. 1(2), 1-10.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 14 (34), 285-298.

Crane, David and Whelan, Rob. (2020). Tonesavvy.com. [Online]. Available from: https://ToneSavvy | Music Theory & Ear Training. [13 November 2020].

Musictheory.net. (2020). Musictheory.net. [Online]. Available from: https://musictheory.net. [13 November 2020].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-11-2023