บทบาทหน้าที่ของดนตรีต่อชุมชน: กรณีศึกษาวงดนตรีหลานตาเฮง
คำสำคัญ:
บทบาทหน้าที่, ดนตรีกับชุมชน, วงดนตรีหลานตาเฮงบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอประวัติพัฒนาการ และบทบาทหน้าที่ของวงดนตรีหลานตาเฮงที่มีต่อชุมชนและสังคม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการมีส่วนร่วมในฐานะเป็นคนในวงดนตรี ผลการวิจัยพบว่า วงดนตรีหลานตาเฮงเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2532 จากกลุ่มคนที่มีใจรักในการบรรเลงดนตรีและการแสดง โดยยุคเริ่มต้นใช้ชื่อว่าคณะลูกพ่อพระกาฬ และในปี พ.ศ.2536 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวงดนตรีหลานตาเฮง พัฒนาการด้านรูปแบบทางดนตรีและการแสดงของวงดนตรีหลานตาเฮง มีการปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ว่าจ้างและบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลง จากยุคกระตั้วแทงเสือ คณะลูกพ่อพระกาฬ ไปสู่ยุคกลองยาวศิษย์หลานตาเฮง กระทั่งยุคพิณประยุกต์ในปัจจุบันวงดนตรีหลานตาเฮง มีบทบาทหน้าที่ต่อชุมชนและสังคม 6 ด้าน ได้แก่ด้านความเชื่อและพิธีกรรม ด้านการสื่อสารสังคม/ให้ข้อมูลข่าวสาร ด้านการสร้าง
ความบันเทิง ด้านการอนุรักษ์และสืบทอดมรดกภูมิปัญญา ด้านการสืบทอดความรู้ และด้านการเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นภาพสะท้อนของวัฒนธรรมดนตรีที่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการขับเคลื่อนผู้คน ชุมชนและสังคมอย่างเป็นพลวัตร
References
กวินทรา พงษ์มาลี. นักดนตรีประจำวงดนตรีหลานตาเฮง. (1 ธันวาคม 2562). สัมภาษณ์.
กัมปนาท พันธุอารี. นักดนตรีประจำวงดนตรีหลานตาเฮง. (27 กันยายน 2562). สัมภาษณ์.
ณรงค์ เส็งประชา. (2538). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง.
นิยพรรณ (ผลวัฒนะ) วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิศรุต ศรีบัว. รองหัวหน้าวงดนตรีหลานตาเฮง. (6 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.
ยศ สันตสมบัติ. (2544). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สายัณห์ พันธุ์อารี. หัวหน้าวงดนตรีหลานตาเฮง. (8 มกราคม 2563). สัมภาษณ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.