ดนตรีบำบัด: ความสุขสงบอันเป็นสมาธิสู่จินตนาการที่เปิดกว้าง

ผู้แต่ง

  • วัฒนวุฒิ ช้างชนะ บุคลากรประจำสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

ดนตรีบำบัด, ความสงบ, จินตนาการ

บทคัดย่อ

เป้าหมายสำคัญของบทความนี้ มุ่งเน้นในเรื่องของดนตรีที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาศักยภาพประสาทของมนุษย์ ทำหน้าที่เสมือนสะพานและเส้นทางสู่ความคิด การเรียนรู้ในสมองของมนุษย์ ช่วยพัฒนาอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ให้มีแนวโน้มที่ดี รวมถึงช่วยให้เกิดความสงบภายในจิตใจได้อีกด้วย ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า กิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายและเกิดความสุขสงบของจิตใจ เกิดขึ้นได้จากกิจกรรมที่หลากหลายขึ้นอยู่กับพื้นฐานความชอบหรือจริตของแต่ละบุคคล บางคนชอบเต้นรำ บางคนชอบร้องเพลง บางคนชอบปลูกต้นไม้ บางคนชอบเย็บปักถักร้อย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ก็ถือเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการผ่อนคลายได้ทั้งสิ้น ซึ่งดนตรีถือเป็นสิ่งหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดความสุขสงบ เกิดสมาธิ เชาว์ปัญญา และสามารถช่วยเสริมสร้างความคิดจินตนาการที่ดีขึ้นได้

References

จอห์น เลน. (2556). พลังความเงียบ เปิดพื้นที่เพื่อความสร้างสรรค์. แปลโดย สดใส ขันติวรพงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.

โจเซฟ อีเกอร์. (2550). ไวโอลินของไอน์สไตน์. แปลโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล. กรุงเทพฯ: มติชน.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา.(2549). ดนตรีบำบัด. [ออนไลน์] ได้จาก: http://www.happyhomeclinic.com/a06-musictherapy.htm. [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2562].

นาตยา หงส์ศิลา. (2549). ความเป็นมาของดนตรีบำบัด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 11(1), 57-58.

ผกาวรรณ บุญดิเรก. (2548). ดนตรีบำบัด. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 1(1), 26-28.

รักชนก ภักดิ์โพธิ์. (2550). ผลของดนตรีบำบัดต่อความเครียด อาการคลื่นไส้ ขย้อนและอาเจียนในผู้ป่วยสตรีมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ที่ได้รับเคมีบำบัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสตรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วศิน วิเศษศักดิ์ดี. (2550). องค์ประกอบของดนตรีไทยที่เป็นปัจจัยสู่งานออกแบบตกแต่งภายในสถานดนตรีบำบัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันชนะ ท่อชู. (2549). ผลของดนตรีบำบัดต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์: การศึกษาเปรียบเทียบดนตรีบำบัดแบบพุทธกับแบบนิวเอจ. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ความงามและสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2555). ศิลปกรรมร่วมสมัย: การเรียนรู้และสร้างสรรค์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 14(1), 14-20.

ศุภมิตร ประสบเกียรติ. (2560). ดนตรีบำบัด. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://blog.mcp.ac.th/?p=55060. [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2562].

สเตฟาน โบเดียน. (2551). ตื่นรู้สู่แสงสว่าง. แปลโดย พรศักดิ์ อุรัจฉัทชัยรัตน์. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

สม สุจีรา. (2553). ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น. พิมพ์ครั้งที่ 70. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2550). โลกพลิกโฉม: ความมั่งคั่งในนิยามใหม่. กรุงเทพฯ: สยาม เอ็น แอนด์ บี พับลิชชิ่ง.

โอโชะ. (2556). เชาวน์ปัญญา. แปลโดย ประพนธ์ ผาสุขยืด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ฟรีมายด์ พับลิชชิ่ง.

Muggli, Michele. (2002). Music Therapy and Autism in Children. [Online]. Available from: http://dubinserver.colorado.edu/prj/mmu/index/html. [29 February 2020].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-11-2023