แนวทางการสอนขับร้องประสานเสียงสำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
การขับร้องประสานเสียง, ผู้สูงอายุ, กิจกรรมดนตรีบทคัดย่อ
แนวทางการสอนขับร้องประสานเสียงสำหรับผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้โครงการพัฒนาวิชาชีพดนตรี กิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยเปิดโอกาสให้ผู้สนใจที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ได้เข้าร่วมกิจกรรมและพัฒนาทักษะทางดนตรีด้วยการขับร้องเพลงประสานเสียง ในกิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 18 ชั่วโมง โดยมีการพัฒนาทักษะของการขับร้องประสานเสียง ในกิจกรรมดังกล่าวนี้ด้วย ทั้งนี้ ผู้เขียนซึ่งเป็นวิทยากรในกิจกรรมดังกล่าว จึงได้นำเสนอแนวทางของการสอนขับร้องประสานเสียงสำหรับผู้สูงอายุ การเตรียม ความพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่น บทเพลงที่ต้องสอดคล้องกับบริบทของผู้สูงอายุ ความชื่นชอบ และรสนิยมของการฟังบทเพลง และเลือกบทเพลงที่ผู้สูงอายุมีประสบการณ์ด้านการฟังบทเพลงดังกล่าว นำมาเรียบเรียงเสียงประสาน เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมนี้ นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอแนวทางของการสอนขับร้องประสานเสียงเบื้องต้นสำหรับผู้สูงอายุ การปรับบทเพลงประสานเสียงเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับทักษะทางดนตรี การร้อง และศักยภาพความสามารถของผู้สูงอายุที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถแสดงการขับร้องประสานเสียงที่ดีได้
References
โกวิทย์ ขันธศิริ. (2558). ดุริยางคศิลป์ตะวันตก (เบื้องต้น). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทนา รณฤทธิวิชัย. (2530). การเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใขของผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/4930. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563].
ชญานิศ โนมะยา ฟลอส์ซี. (2560). มาเรียนร้องเพลงกันเถอะ. กรุงเทพฯ : เอ็มไอเอส.
บรรจง ชลวิโรจน์. (2556). การประสานเสียง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2559). การเรียนรู้ของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.