กระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วม: ประชุมเชิงปฏิบัติการและวางแผนงานการจัดการแสดงคอนเสิร์ตเครือข่ายนิสิตนักศึกษาทางด้านดนตรี แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศุภพร สุวรรณภักดี สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
  • สิรวิชญ์ ธารไพฑูรย์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
  • ธรณ์ ทักษิณวราจาร สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
  • ศักดิ์ระพี รักตประจิต สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

คำสำคัญ:

การทำงานอย่างมีส่วนร่วม, เครือข่ายทางด้านดนตรี, กิจการนักศึกษา

บทคัดย่อ

กระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการระดมความคิดและหาข้อสรุปในการดำเนินงานโดยมิให้สูญเสียสาระสำคัญ ผู้วิจัยและคณะได้นำทฤษฎีและแนวคิดการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมทางด้านดนตรีจากต่างประเทศ ได้แก่ โครงการพัฒนานักศึกษาของการประชุมผู้บริหารทางด้านดนตรีในภาคพื้นเอเชีย กิจกรรมวงดุริยางค์เยาวชนอาเซียน และกรณีศึกษาในประเทศ ได้แก่ กิจกรรม อักษร-ศิลป์ เพื่อน้อง มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการของเครือข่ายนิสิตนักศึกษาทางด้านดนตรีแห่งประเทศไทย เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมและมีประสิทธิภาพ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในลักษณะของผู้วิจัยและคณะร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ และร่วมประเมิน (Participatory Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่ในการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของเครือข่ายนิสิตนักศึกษาฯ ในการเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดภายใต้สภาพแวดล้อม ที่ผู้วิจัยและคณะได้จัดเตรียมไว้ ประกอบด้วย การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของวงจรคุณภาพ การจัดการความคิดรวบยอด การแบ่งกลุ่มงานให้สอดคล้องกับการดำเนินงานในด้านการจัดการแสดงดนตรี ด้านการจัดการเวที ด้านงบประมาณและเลขานุการ ด้านการประเมินผล และการสรุปผลการดำเนินงานจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ

          จากการศึกษาพบว่า การดำเนินงานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดการแสดงคอนเสิร์ตของเครือข่ายนิสิตนักศึกษาฯ ทำให้เครือข่ายนิสิตนักศึกษาฯ เข้าใจการดำเนินการจัดงานในเรื่องการจัดกิจกรรมการแสดงดนตรี การแบ่งกลุ่มงาน เพื่อการดำเนินกิจกรรม การเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม การกำหนดแผนงานในการดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายนิสิตนักศึกษาฯ ภายใต้แนวคิดวงจรคุณภาพ ผ่านกระบวนกรซึ่งทำหน้าที่ในการช่วยอภิปรายผล การให้ข้อเสนอแนะข้อปรับปรุงในแต่ละส่วนงานภายใต้สภาพแวดล้อมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานของเครือข่ายนิสิตนักศึกษาฯ

References

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2552). วิสัยทัศน์ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ศุภพร สุวรรณภักดี. (2561). ค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้อง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา-ธรรมศาสตร์ ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสาร วิจัยวิชาการ. 2(1), 183-197.

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา. (13 กันยายน 2561). คำสั่งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ที่ 209/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการแสดงคอนเสิร์ตเครือข่ายนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาทางด้านดนตรีแห่งประเทศไทย (THEMSN) พ.ศ. 2561 - 2562.

Anothai Nitibhon. (2017). ASEAN Youth Ensemble. [Online]. Available from: http: www.pgvim.ac.th/aye Handbook of Action Research: Concise Paperback Edition edited by Peter Reason, Hilary Bradbury [2 February 2019].

J. A. Bellanca, R. S. Brandt. (2010). 21st Century Skills: Rethinking how students learn. Bloomington: Solution Tree Press.

SEADOM. (2018). History, Mission and Aims. [Online]. Available from: https://seadom.org /page/history-mission-and-aims [2 February 2019].

Shane Taylor Constante. (2016). Student Project SEADOM Congress 2016. [Online]. Available from: https://www.seadom.org:https:// www.youtube.com/watch?v=5r7BzYzTQK0 [2 February 2019].

Suppabhorn Suwanpakdee, & Yupin Pokthitiyuk. (2018). Aksornsilpa: Participation in Music and Arts Camp. Princess Galyani Vadhana International Symposium, 39-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-11-2023