การขับร้องเพลงไทยสากลโดยใช้แนวเสียงสำเนียงไทย

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร เทียมประเสริฐ นักศึกษาหลักสูตรศิลปดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • สุพรรณี เหลือบุญชู อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • นพคุณ สุดประเสริฐ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การขับร้อง, เพลงไทยสากล, แนวเสียงสำเนียงไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการขับร้องเพลงไทยสากลโดยใช้แนวเสียงสำเนียงไทย และ 2) เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติการขับร้องเพลงไทยสากลโดยใช้แนวเสียงสำเนียงไทย ใช้เครื่องมือประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นทางการ โดย   การสัมภาษณ์ผู้รู้ และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการขับร้องเพลงไทยสากลโดยใช้แนวเสียงสำเนียงไทย มีการพัฒนาร่วมกันระหว่าง การใช้ฐานเสียง ช่องเสียงแบบตะวันตก กลวิธีการขับร้องแบบไทยในขนบบางส่วน ทำนองเพลงไทยเดิมแบบดั้งเดิม และหลักทฤษฎีดนตรีตะวันตก เพลงขับร้องไทยสากลโดยใช้แนวเสียงสำเนียงไทย ถูกพัฒนาแบบต่อเนื่องจากอดีตจนมาถึงช่วงระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2500 ถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2565 มีรูปแบบแบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ เพลงประเภทเพลงฟังเพื่อความเพลิดเพลิน เพลงสนับสนุนประเพณี พิธีกรรม หรือประกอบกิจกรรม เพลงประเภทปลุกใจ เพลงประเภทประกอบละคร ภาพยนตร์ เพลงโฆษณาสินค้า เพลงประเภทปลูกจิตสำนึก เพลงประเภทสร้างแรงบันดาลใจ บทเพลงเพื่อชีวิต เพลงประเภทเกี่ยวกับการศึกษา 2) วิธีการปฏิบัติการขับร้องเพลงไทยสากลโดยใช้แนวเสียงสำเนียงไทย เมื่อถึงยุคที่มีการนำทำนองจากเพลงไทยเดิมมาพัฒนา เข้ามาสู่ยุคเพลงขับร้องไทยสากลโดยใช้แนวเสียงสำเนียงไทยในช่วงเวลาต่อมา ได้มีการแต่งคำกลอนเนื้อร้องที่เป็นภาษาไทยมาประกอบทำนองร้อง ซึ่งในธรรมชาติของภาษาไทยนั้น มีเสียงอักขระอักษรสูง กลาง ต่ำ และคำสัมผัสองค์ประกอบที่สำคัญของการขับร้องเพลงไทยสากลโดยใช้แนวเสียงสำเนียงไทย คือ ทำนองหลัก โครงสร้างบทเพลง การเรียบเรียงเสียงประสาน คำประพันธ์ เนื้อเพลง การขับร้องสื่อสารเรื่องราวในบทเพลงโดยใช้เสียงมนุษย์ รูปแบบการนำเสนอขับร้อง เดี่ยว คู่ กลุ่ม

References

กาญจนา นาคสกุล. (2551). ระบบเสียงภาษาไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

งามพิศ สัตย์สงวน.(2543). ทฤษฎีการแพร่กระจาย หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : รามาการพิมพ์.

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2563). ทฤษีดนตรีเพื่อการวิจัยและสารัตถบทดนตรี. ลพบุรี:โรงพิมพ์นาฏดุริยางค์.

พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2561). เพลงมโหรีแห่งกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ : ธนาเพลส.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2564). ประวัติกำเนิดเพลงไทยสากล รายการเพลงไทย จากอดีตตอนที่ 1 และตอนที่ 2. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai_contemporary_mu/plengthaisakol-2/. [สืบค้นวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566].

พูนพิศ อมาตยกุล. (2541). เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชา การพัฒนามาตฐานดนตรีไทยด้านคุณภาพเสียงและรสมือ และหลักทั่วไปของการขับร้องเพลงไทย จัดโดยสำนักมาตฐานอุดมศึกษา ระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2541. กรุงเทพ : ม.ป.ท.

ดวงใจ อมาตยกุล. (2546). เพราะเพลง. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย.

วณี ลัดดากลม.(2555.) เอกสารประกอบการสอนการฝึกร้องเพลงclassicเบื้องต้น. กรุงเทพ : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ฐิระพล น้อยนิตย์. (2559). การเข้าหน้าทับ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บัวเงิน.

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2561). ทฤษฎีดนตรีตะวันตก Western Music Theory. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส.

สุพรรณี เหลือบุญชู. (2565). การสร้างสรรค์รูปแบบและกระบวนการสืบทอดองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านการขับร้องเพลงไทยของศิลปินแห่งชาติสาขาการแสดงด้านคีตศิลป์. กรุงเทพ : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

Roger Kamiem. (2015). Music an appreciation. New York : McGraw-Hill Education.

Alexandre Lunsqui. (2009). Rhythm and Globalization: Aesthetics, Cultuer, and Creativity in Contemporary Classical Music. Columbia : Columbia University.

Jeffrey Allen’s. (1994). Secrets of singing -male low and high voice. Florida : A warner Music Group Company Miami.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-11-2023

How to Cite

เทียมประเสริฐ ป. . ., เหลือบุญชู ส. ., & สุดประเสริฐ น. (2023). การขับร้องเพลงไทยสากลโดยใช้แนวเสียงสำเนียงไทย. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ, 5(2), 83–98. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/228