การวิเคราะห์ วิเคราะห์เทคนิคการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงมาร์ชสรรเสริญเสือป่าสำหรับวงโยธวาทิตโดยพันเอกประทีป สุพรรณโรจน์

music analysis

ผู้แต่ง

  • อัศวิน นาดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

วิเคราะห์ดนตรี , เรียบเรียงเสียงประสาน, มาร์ชสรรเสริญเสือป่า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติและวิเคราะห์เทคนิคการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงมาร์ชสรรเสริญเสือป่า เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียบเรียงเสียงประสาน นักวิชาการ และนักปฏิบัติ 12 คน เลือกด้วยการสุ่ม  แบบอ้างอิง 10 คน สนทนากลุ่ม 3 ครั้ง เพลงบุหลันลอยเลื่อนบทพระนิพนธ์ใน สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทำนองในรูปแบบสากลชื่อ สรรเสริญเสือป่า ในปี พ.ศ. 2456 ต่อมาปี พ.ศ. 2562 พันเอกประทีป  สุพรรณโรจน์ ได้เรียบเรียงเพื่อการเดินแถวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ชื่อเพลง มาร์ชสรรเสริญเสือป่า โดยมีโครงสร้างเพลงแบบ March / Trio / March ที่สร้างจากท่อนเพลงแบบ AB มีลักษณะเด่นในการขยายส่วนจังหวะทำนองในท่อนทรีโอ มีทำนองสอดประสาน             ในรูปแบบสปีชีส์ที่ 2 ดนตรีประกอบมุ่งเน้นการประสานเสียงระบบทบสาม (Tertian system) การดำเนินคอร์ดที่มีความสัมพันธ์คอร์ดแบบ I V I พื้นผิวทางดนตรี จำแนกได้ 5 ลักษณะ ได้แก่ ยูนิสัน ทำนองหลักและดนตรีประกอบ ทำนองรอง คอร์ด ทำนองสอดประสาน และสีสันเสียง มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มดนตรี 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง กลุ่มเครื่องลมไม้ และกลุ่มเครื่องกระทบ ที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน

References

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2551). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ ฯ : เกศกะรัต.

ณัฐชยา นัจจนาวากุล. (2559). แตรสยาม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง.

ถวัลย์ชัย สวนมณฑา. (2546). วิเคราะห์เทคนิคการประสานเสียงสำหรับวงโยธวาทิตของพระเจนดุริยางค์. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.

ประณต มีสอน. (2538). ชีวิตและผลงานของ นารถ ถาวรบุตร : ศึกษาเฉพาะเพลงมาร์ช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภัทรวีร์ เทียนชัยอนันต์. (2551). เพลงไทยประสานเสียงแบบฝรั่ง พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

มงคล นาฏกระสูตร. (2552). “ทฤษฎีบทบาท.” [ออนไลน์]. ได้จาก : http://culture.pn.psu.ac.th/research2//files/ch220200204105843.pdf. [สืบค้นวันที่ 18 กรกฎาคม 2564].

วราห์ พุ่มหรดี. (2552). ซิมโฟนิกโพเอ็ม สมุทรสงคราม สำหรับวงออร์เครสตรา. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ตะวันตก บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2552). การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม แนวความคิด วิธีวิทยา และทฤษฎี. ขอนแก่น : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Matthew C. Saunders. (2008). “American March Form.” [online]. Available : http://www.martiandances.com/uploads /1/6/0/1/16019142/march_form_handout.pdf [Retrieved 20 July 2021].

Scholes A, Percy. (1987). The Oxford Companion to Music. 10th Edition. Oxfordshire : Oxford University.

Walter Piston. (1969). Orchestration. London : Victor golancz ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-11-2023

How to Cite

นาดี อ. (2023). การวิเคราะห์ วิเคราะห์เทคนิคการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงมาร์ชสรรเสริญเสือป่าสำหรับวงโยธวาทิตโดยพันเอกประทีป สุพรรณโรจน์: music analysis. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ, 5(2), 99–114. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/221