ปัญหาสุขภาพจิตในสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • ขวัญใจ ฤทธิ์คำรพ สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

สุขภาพจิต, นักเรียน, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่หลายหน่วยงานให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กนักเรียนวัยรุ่นในสถานศึกษา ปัญหาสุขภาพจิตอาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมซึ่งส่งผลต่อการจำกัดความสามารถในการพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ โดยปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้ในกลุ่มนักเรียน ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า การใช้สารเสพติด และการรังแกกันในสถานศึกษา ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีแนวทางในการป้องกันช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิตคือ 1) การสนับสนุนให้สถาบันการศึกษามีนักจิตวิทยาประจำโรงเรียน เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือและคำปรึกษาแก่เด็กนักเรียนโดยใช้กระบวนการทางจิตวิทยาที่เหมาะสม 2) การส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีความรอบรู้ทางสุขภาพจิต เพื่อช่วยให้เด็กนักเรียนมีความเข้าใจและทราบแนวทางในการดูแลสุขภาพจิตตนเองในเบื้องต้นได้ 3) การมีระบบคัดกรองและส่งต่อเด็กนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิต จะช่วยให้เด็กนักเรียนได้รับการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตซึ่งหากพบเด็กนักเรียนที่ความเสี่ยงต่อปัญหา และ 4) การสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและครอบครัวของเด็กนักเรียน เพื่อช่วยในการสอดส่องดูแลเด็กนักเรียนที่มีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

กรมสุขภาพจิต. (2541). บริการสุขภาพจิตมุ่งชีวิตเป็นสุข. กรุงเทพมหานคร: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสุขภาพจิต. (2564). แนวทางการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพใจของนักเรียน เพื่อเตรียมพร้อมการเปิดโรงเรียน สำหรับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://dmh-elibrary.org/items/show/1137.

กองบรรณาธิการ HD. (2560). การกลั่นแกล้ง 6 ประเภทที่พ่อแม่ควรรู้จักไว้. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565, จาก https://hd.co.th/6-types-of-bullying-parents-should-know.

ไทยโพสต์ออนไลน์. (2563, 13 กุมภาพันธ์). เปิดสถิติวัยรุ่นไทยขอคำปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 มากที่สุด ปัญหาความเครียดอันดับ 1. ไทยโพสต์. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/56782.

นันทิรา หงส์ศรีสุวรรณ์. (2559). ภาวะซึมเศร้า. วารสาร มฉก.วิชาการ. 19(38), น. 105 – 118.

นุธิดา ทวีชีพ. (2565). ผลของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งในโรงเรียนที่มีต่อความผูกพันของนักเรียนระดับประถมศึกษา: การวิจัยแบบผสานวิธี. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรีชา พินชุนศรี และฐิติกร จันทพลาบูรณ์. (2560). ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเยาวชน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 23(3), น. 532 – 539.

พรทิพย์ ช่วยเพล และอภิษฎาข์ ศรีเครือดง. (2562). ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวกับสุขภาพจิตของวัยรุ่นไทย. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 1(3), น. 207 – 220.

วิทยา บุญหล้า. (ม.ป.ป.). เอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน นักจิตวิทยาโรงเรียน ประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.ses26.go.th/wp-content/uploads/2021/07/c6.pdf.

วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, และรัตนศักดิ์ สันติธาดากุล. (2565). คุณภาพของแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ฉบับภาษาไทย ในบริบทโรงเรียน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 30(1), น. 38 – 48.

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2561). คู่มือปฏิบัติสำหรับการดำเนินการป้องกันและจัดการการรังแกกันในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด.

สเปญ อุ่นอนงค์ และอัญชลี จุมพฎจามีการ. (ม.ป.ป.). เด็กติดยาเสพติด. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/06212014-1613.

สุฮัยณี อาหวัง, นิศริน เจ๊ะหามะ, สโรชา ชูเล่ง, นูรีดา เจะอีซอ, อับดุลคอลิก อัรรอฮีมีย์, และ ธันยากร ตุดเกื้อ. (ม.ป.ป.). ผลกระทบจากพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียนในจังหวัดปัตตานี. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www2.huso.tsu.ac.th/ncom/csd/csdful_pdf/f328.pdf.

Isarabhakdi, P., & Pewnil, T. (2015). Engagement with Family, Peers, and Internet Use and its Effect on Mental Well-Being among High School Students in Kanchanaburi Province, Thailand. International Journal of Adolescence and Youth. 21(1), pp. 15-26, DOI: 10.1080/02673843.2015.1024698.

Jorm, A.F. (2000). Mental Health Literacy: Public Knowledge and Beliefs about Mental Disorders. The British Journal of Psychiatry. 177(5), pp. 396 – 401.

Kutcher, S., Wei, Y., and Morgan, C. (2016). Mental health literacy in post-secondary students. Health Education Journal. 75 (6), pp. 689–697.

Selye, H. (1956). The Stress of Life. New York: McGraw-Hill Book.

UNICEF. (2021). The State of the World’s Children 2021: On My Mind: Promoting, protecting and caring for children’s mental health. Retrieved November 15, 2022, from https://www.unicef.org/reports/state-worlds-children-2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30