การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโปรแกรมเชิงวัตถุเบื้องต้นโดยใช้โปรแกรม Microsoft Teamsร่วมกับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบปัญหาเป็นฐานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอน, รูปแบบปัญหาเป็นฐาน, การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, โปรแกรม Microsoft Teamsบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรม Microsoft Teamsสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ในวิชาโปรแกรมเชิงวัตถุเบื้องต้น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโปรแกรมเชิงวัตถุเบื้องต้นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์จำนวน 52 คน โดยผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรม Microsoft Teamsวิชาโปรแกรมเชิงวัตถุเบื้องต้นและ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาโปรแกรมเชิงวัตถุเบื้องต้น ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของแผนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรม Microsoft Teamsวิชาโปรแกรมเชิงวัตถุเบื้องต้นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2อยู่ในระดับดีมาก (= 4.80, S.D. = 0.22) และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโปรแกรมเชิงวัตถุเบื้องต้นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
References
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. วิธีการวิจัยทางการศึกษา. (2565). (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: มีนเซอร์วิสซัพพลาย
พิชญา เขียดสังข์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิงเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 10(2), น. 195-203.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2566). การเรียนรู้เชิงรุกเสริมสร้างสมรรถนะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2556). คู่มือการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้.จาก https://www.loeitech.ac.th/webetc/curriculum/download/manual.pdf
สุพัตรา ตะเพียนทอง. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วย Google Application for Education ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะเรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 19(1), น. 15-24.
สุวิทย์ มูลคำ และคณะ. (2551). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
อนุวัติ คุณแก้ว. (2565). การทดสอบการวัดผลและการประเมินผลการศึกษาแนวใหม่.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต. (2565).ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนรายวิชาความรู้เบื้องต้นทางประชากรศาสตร์ในห้องเรียนเสมือนด้วยโปรแกรม MS TEAMS. วารสารศึกษาศาสตร์. 16(2),น.209-221.
อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2562). แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ: หน้าที่ครูหรือหน้าที่ใคร.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University. 12(3), น. 898-910.
Andika, F., Pramudya, I., & Subanti, S. (2020). Problem posing and problem solving with scientific approach in Geometry Learning. International Online Journal of Education and Teaching (IOJET). 7(4), pp. 1635-1642.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง