การพัฒนากิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ ด้านการอ่านสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์

ผู้แต่ง

  • นีรนาท จุลเนียม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ธันยนันท์ ฉัตรธีราโชติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • บุญดี รุ่งเรืองมณีรัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้, ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน, นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ดังนี้ (1) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ด้านการอ่านของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ (2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ที่มีต่อกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่าน และ 3) รับรองกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 1 ห้องเรียน 27 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ 2) ศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ 3) เอกสารประกอบการใช้กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และบทเรียนแบบผสมสาน และ 4) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลของกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบความฉลาดรู้ด้านการอ่าน แบบบันทึกการอ่านแบบสะท้อนคิด แบบวัดความผูกพันกับการอ่าน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละและทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการพัฒนากิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์พบว่า กิจกรรมเสริมการเรียนรู้มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) ผลการเรียนรู้ 3) โครงสร้างเนื้อหา 4) กิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 5) สื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้และ 6) การประเมินผล ซึ่งกิจกรรมเสริมการเรียนรู้มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์พบว่า นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มีความฉลาดรู้ด้านการอ่านหลังการใช้กิจกรรมเสริมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมเสริมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มีความคิดเห็นต่อกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการรับรองกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์โดยภาพรวมพบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 คน ให้การรับรองว่ากิจกรรมเสริมการเรียนรู้สามารถนำไปใช้พัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่านสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ได้

References

กาญจนา คุณารักษ์. (2562). หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

จุฑาทิพย์ สร้วงสุวรรณ. (2560). การพัฒนาตัวแบบพหุระดับการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนในกลุ่มประเทศอาเซียน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 11(1), น.220-237.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน (2564). การพัฒนาหลักสูตร. นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์ และ วิภาวรรณเอกวรรณัง. (2562). การวิจัยและพัฒนาความสามารถในการรู้เรื่องการอ่านตามแนวทางการสอบแบบ PISA โดยใช้แนวคิดการอ่านจากต้นแบบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น(รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ทิศนา แขมมณี. (2562). สมรรถนะ: หัวใจของความฉลาดรู้.ใน สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา (บรรณาธิการ). การประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจรเรื่อง ทำไมจึงต้องสร้างความฉลาดรู้: ศึกษาจากปรากฏการณ์ และทำนายอนาคต.(น. 18-22). กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสภา.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). จําเป็นต้องปฏิรังสรรค์การศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์.(2563). อนาคตของครุศึกษาไทยกับการสร้างความฉลาดรู้.คุรุสภาวิทยาจารย์. 1(1), น. 1-7.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การประเมินด้านการอ่านของ PISA 2018 เป็นอย่างไร. จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-47/

สำนักงานราชบัณฑิตสภา (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ชุดความฉลาดรู้ (literacy).กรุงเทพมหานคร: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2562). กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิชย์

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก.35 (3),น. 101-136.

Greenberg, J., Baron, R.A. (1986). Behavior in organizations: Understanding and managing the humanside of work. (2nd Ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Chappell, C., Gonczi, A., & Hager, P. (2020). Competency-based education. In Foley, G. (Eds.), Understanding Adult Education and Training. London: Routledge.

Corrigan,P.T. (2014). Attending to the act of reading: Critical reading, contemplative reading and active reading. Essays in Reader Oriented Theory, Criticism, and Pedagogy. 63-64, pp. 146-173.

Egger, M.L. (2022). Reading with social, digital annotation: Encouraging engaged critical reading in a challenging age.Doctoral dissertation in English, Old Dominion University.

Glatthorn, A., Boschee, F., Whitehead, B.M., &Boschee, B.F. (2019). Curriculum leadership strategies for development and implementation.(5th ed). Los Angeles: SAGE.

Goatly, A., &Hiradhar, P. (2016). Critical reading and writing in the digital age. London: Routledge.

Johnstone, S.M.,&Soares, L. (2014). Principles for developing competency-based education programs. Change:The Magazine of Higher Learning. 46(2), pp. 12-19.

OECD. (2019). Future of education and skills 2030 conceptual learning framework.Retrieved January 31, 2022, from www.oecd.org/education/2030-project.

Ornstein, A.C.,&Hunkins, F.P. (2018). Curriculum: Foundations, principles, and issues (Pearson Educational Leadership).(7th ed). Vivar: Pearson Education.

Oxenham, J. (2017). Literacy:Writing, reading and social organization. London: Routledge.

Taba, H. (1962). Curriculum development theory and practice. New York: Harcourt, Brace and World.

United Nations. (2020). Thesustainable development goals report 2020. Retrieved December 1,2021, fromhttps://sdgs.un.org/publications/sustainable-development-goals-report-2020-24686

Whitney, D.R., & Sabers, D.L. (1970). Improving essay examination III. Iowa City: University Evaluation and Examination Service.

Wray, A.,& Wallace, M. (2021). Critical reading and writing for postgraduates.(4th ed). Los Angeles: SAGE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-02