ผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรม ณ วัดโรจนประภา จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
โปรแกรมการปฏิบัติ, การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, จังหวัดเพชรบูรณ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างโปรแกรมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรม ณ วัดโรจนประภา จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาผลของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรม ณ วัดโรจนประภา จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีกลุ่มทดลอง จำนวน 15 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวัดคุณภาพชีวิต มีคะแนนความเชื่อมั่นที่ .963 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตินอนพาราเมตริก ใช้วิธีทดสอบแบบ Wilcoxon Matched pairs และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรม ณ วัดโรจนประภา จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการปฏิบัติแบบเคลื่อนไหวตามแนวหลวงพ่อเทียน และกิจกรรมการปฏิบัติจำนวน 7 วัน คิดเป็นรายชั่วโมงของการปฏิบัติจำนวน 42 ชั่วโมง รูปแบบกิจกรรมมี 4 ลักษณะได้แก่ 1) ฟังบรรยาย 2) สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น 3) ปฏิบัติอิริยาบถหลัก นั่ง-เดินจงกรม 4) ปฏิบัติอิริยาบถย่อย
2) ผลการทดลองพบว่า หลังการทดลองคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า 1) ด้านกาย สุขภาพทางกายดีขึ้นจากการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม การพักผ่อนเป็นเวลา และการฝึกสติด้วยการเคลื่อนไหวและเดินจงกรม 2) ด้านสังคม สัมพันธภาพดีขึ้นจากการเกื้อกูลและแบ่งปันกัน รวมถึงการทำงานร่วมกันอย่างมีน้ำใจ 3) ด้านจิตใจ มีสติรู้ทันความคิด ลดความวิตกกังวล มีจิตเมตตา และมีความเบิกบานมากขึ้น 4) ด้านปัญญา เข้าใจธรรมะและกฎไตรลักษณ์ลึกซึ้งขึ้น ปล่อยวางได้ดี และประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาชีวิต
References
ไกลฤกษ์ ศิลาคม และ หัสดิน แก้ววิชิต. (2560). ผลของการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวต่อสุขภาพจิตและความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(1), 16-24.
ฐิติมา ตั้งจิตเมธี. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามองค์ธรรม พละ 5 ด้วยการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปลายกันยา อุ่นไทย. (2558). ผลของการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน ที่มีผลต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2552). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมมิก จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมมิก จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2553). จากจิตวิทยาสู่จิตภาวนา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
ศุภวรรณ พิพัฒน์พรรณวงศ์ กรีน. (2557). หยุดคิด ก็หยุดทุกข์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรม.
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ. (2550). รู้ทุกข์รู้ธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เม็ดทราย.
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ. (2551). เปิดประตูสัจธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เม็ดทราย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารปัญญาและคุณธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร