เกี่ยวกับวารสาร

วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร

        วารสารปัญญาและคุณธรรม  มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้นักวิชาการและผู้สนใจ ได้เสนอและเผยแพร่บทความบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ บทความปริทรรศน์ และบทความพิเศษ ที่ได้มาตรฐานสู่สาธารณชน รวมทั้งยกระดับผลงานทางวิชาการให้ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ด้วยหวังให้เป็นตลาดแห่งองค์ความรู้ที่สามารถค้นคว้า ถ่ายถอด และแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่างๆ  อย่างหลากหลาย  ทั้งนี้ เปิดรับบทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ไม่ว่าจะเป็นด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา สันติศึกษา สังคมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม  การพัฒนาชุมชม  การศึกษา  จิตวิทยา และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ก่อให้ปัญญาและคุณธรรม  วารสารฯ กำหนดให้มีการเผยแพร่บทความ ปีละ 4 ฉบับ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน  ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร

          1) บทความวิจัย (Research Article)  

          2) บทความวิชาการ (Academic Article) 

          3) บทความปริทรรศน์ (Review Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)  

          4) บทความพิเศษ (Special Article)  ในวาระครบรอบหรือในโอกาสสำคัญต่างๆ

 

กำหนดออกเผยแพร่วารสาร

          วารสารปัญญาและคุณธรรม  ได้กำหนดรอบการเผยแพร่ปีละ  4 ฉบับ ดังนี้

             ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม             

             ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน

             ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน

             ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม

         ทั้งนี้  เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2566  เป็นต้นไป

         เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ประเภท Online ของปัญญาและคุณธรรม คือ ISSN: 3057-1677 (Online)  เผยแพร่สืบค้น และดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่  https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JWiM/index

 

กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ

          วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์  โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ  (Double blind peer-reviewed)  ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสถาบัน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในสาขานั้นๆ  และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์