สิทธิหน้าที่: เยาวชนยุคใหม่กับการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • ชิตาภา รัตนารักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กฤศน์วัต ประสาน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พัชรีญา ฟองจันตา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สิทธิหน้าที่, เยาวชนยุคใหม่, การพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

       บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอมุมมองเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของเยาวชนในการพัฒนาการปกครองตามหลักประชาธิปไตย โดยเยาวชนเป็นกลุ่มที่มีบทบาทและอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองอย่างมาก การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาประชาธิปไตยไม่เพียงแต่ส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบการเมือง แต่ยังช่วยสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับอนาคตของประเทศที่เป็นไปตามหลักของสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งสิทธิและหน้าที่ดังกล่าวที่เยาวชนพึงกระทำเพื่อเป็นการเสริมสร้างให้เกิดประชาธิปไตยที่มั่นคงคือ มีความรับผิดชอบผ่านการมีบทบาทในการผลักดันนโยบายหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม รอบรู้สร้างสรรค์มีด้วยการศึกษาและรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองอย่างรอบด้านจากหลายแหล่งเพื่อให้เกิดเข้าใจตามเหตุและผล ยึดมั่นวิถีประชาธิปไตยที่ต้องมีความเข้าใจและเคารพในกติกาของสังคมประชาธิปไตย ใส่ใจในความเท่าเทียมที่ต้องไม่เลือกปฏิบัติแสดงออกถึงการเคารพผู้อื่นและความแตกต่างที่มีในสังคม จะเห็นได้ชัดเจนจากเยาวชนยุคใหม่มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีผ่านช่องทางต่างๆ อย่างสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้ยึดหลักดังกล่าวข้างต้นเพื่อการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองและสังคมอย่างสร้างสรรค์และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นหลักสำคัญที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งทางประชาธิปไตย

References

Etzioni-Halevy. (1997). Classes and Elites in Democracy and Democratization. New York: Garland Publishers.

นฤมล พรประสพสุข. (2567). บทบาทและหน้าที่ของเยาวชนที่มีต่อสังคมและประเทศชาติ. สืบค้นเมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน 2567 แหล่งข้อมูล https://narumonpornprasops.wixsite.com/social/blank-xq9ve.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. 6 เมษายน 2560.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2549). การพัฒนาเมืองและชนบทประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : ฟอร์เพซ.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2538). การเมือง : แนวคิดและการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : เอส แอนดิ้ว กราฟฟิค.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2561). สิทธิและหน้าที่ของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตย: แนวคิดและการปฏิบัติ. วารสารการศึกษาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนกงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์. (2558). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2560). สาระน่ารู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ชุดสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). การส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของเยาวชนผ่านการศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2556). โลกเปลี่ยน ไทยปรับ. กรุงเทพมหานคร : กรุงเทพธุรกิจ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

รัตนารักษ์ ช. ., ประสาน ก., ฟองจันตา พ., & ชัยวงศ์ ศ. . (2025). สิทธิหน้าที่: เยาวชนยุคใหม่กับการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย. วารสารปัญญาและคุณธรรม, 2(1), 52–61. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JWiM/article/view/1270