การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

นโยบายการพิจารณารับตีพิมพ์ผลงาน:
1. คำแนะนำทั่วไป
1) ผลงานที่เสนอตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้น รายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์)
2) ผลงานที่เสนอตีพิมพ์ต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด
3) กรณีบทความบางส่วนเคยเผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ผู้เขียนต้องแสดงให้เห็นว่าบทความที่ส่งมาได้มีส่วนเพิ่มเติมหรือขยายจากบทความเดิม นอกจากนี้ผู้เขียนยังต้องระบุในบทความว่าได้เผยแพร่บางส่วนของบทความดังกล่าวไปแล้วที่ใดและเมื่อไรมาแล้ว
4) ทัศนะและข้อคิดเห็นใด ๆ ในบทความถือเป็นทัศนะของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยกับทัศนะเหล่านั้นและไม่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงฝ่ายเดียว
5) ลิขสิทธิ์บทความเป็นของวารสารนวัตกรรมการวิจัยซึ่งได้รับการสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย การตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตโดยตรงจากผู้เขียนและวารสารนวัตกรรมการวิจัยเป็นลายลักษณ์อักษร
2. ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์

1) บทความวิชาการ (Academic Article)
2) บทความวิจัย (Research Article)

3.ขอบเขตการตีพิมพ์
   วารสารนวัตกรรมการวิจัย รับพิจารณาตีพิมพ์บทความภาษาไทย โดยมีขอบเขตเนื้อหา ดังนี้
1) ศึกษาศาสตร์: การบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษา การวิจัยทางการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา และการออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
2) บริหารธุรกิจ: การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม การบัญชี การเงิน การตลาด การสื่อสารการตลาด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการการท่องเที่ยวและบริการ และการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
3) สังคมศาสตร์: รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นวัตกรรมสังคม การพัฒนาสังคม และการพัฒนาชุมชน
4. การพิจารณากลั่นกรองบทความ
1) บทความที่จะได้รับพิจารณาตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพทางวิชาการ และมีประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎีเพื่อให้นักวิจัยสามารถนำไปพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติที่นักปฏิบัติสามารถนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคสังคมและชุมชน
2) บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่านและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ

 5.กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ (Step of Peer Review)
1) กองบรรณาธิการจะตรวจสอบรูปแบบการพิมพ์บทความ และเนื้อหาของบทความว่าตรงกับขอบเขตเนื้อหาของวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการ ประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ตลอดจนความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารประกอบการนำเสนอบทความเพื่อพิจารณาเผยแพร่
2) ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับบทความไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อกลั่นกรองต่อไป โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่านประเมินคุณภาพของบทความว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ โดยกระบวนการกลั่นกรองนี้ ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน (Double-Blind Peer Review) ระบบวารสารออนไลน์ (ThaiJO)
3) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความแล้ว หากพบว่าบทความไม่ผ่านการพิจารณาหรือปฏิเสธการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนรับทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนบทความที่มีข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้น ๆ ควรส่งให้ผู้เขียนปรับปรุงแก้ไข กองบรรณาธิการจะแจ้งสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ผู้เขียนทราบเพื่อทำการแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ผู้เขียนต้องปรับแก้บทความให้แล้วเสร็จภายใน 10 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบรายละเอียดการแก้ไข หากไม่สามารถแก้ไขได้ตามระยะเวลาที่กำหนด กองบรรณาธิการมีสิทธิ์ในการตัดสินลงตีพิมพ์หรือไม่ก็ได้
4) บทความที่ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิและมีการแก้ไขตามข้อเสนอแนะแล้วนั้น จะเข้าสู่การพิจารณาของกองบรรณาธิการอีกครั้งเพื่อตรวจสอบว่าได้แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะครบถ้วนหรือไม่ และอาจขอให้ผู้เขียนปรับปรุงบทความให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบและมาตรฐานที่วารสารกำหนด ทั้งนี้ผู้เขียนต้องปรับแก้บทความให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบรายละเอียดการแก้ไข หากไม่สามารถแก้ไขได้ตามระยะเวลาที่กำหนดกองบรรณาธิการมีสิทธิ์ในการตัดสินลงตีพิมพ์หรือไม่ก็ได้
5) หากผู้เขียนแก้ไขบทความจนผ่านกองบรรณาธิการแล้ว จึงจะอนุมัติให้ตีพิมพ์ โดยจะกด Accept Submission (รับตีพิมพ์บทความ) ในระบบ และทางวารสารจะออกหนังสือรับรองตีพิมพ์บทความ แล้วนำเข้าสู่กระบวนการจัดรูปแบบของวารสารต่อไป
6) วารสารจะเผยแพร่บทความในระบบวารสารออนไลน์ (ThaiJO) วารสารนวัตกรรมการวิจัย (JRI) เมื่อบทความผ่านกระบวนการทั้งหมดที่วารสารกำหนด โดยจะดำเนินการเผยแพร่ตามกระบวนการของแต่ละฉบับผ่านเว็บไซต์ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JRI

6.การจัดเตรียมต้นฉบับ
1) ต้นฉบับบทความต้องมีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ  A4  (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ภาษาไทยใช้ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นระยะขอบด้านบน 2.8 เซนติเมตร  และด้านอื่น ๆ  2.5 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 เซนติเมตร และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนาเช่นตาราง 1 หรือ Table 1 และ รูป 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ
2) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง
3) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุวุฒิการศึกษาสูงสุด พร้อมระบุ ตำแหน่งทางวิชาการพิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยเยื้องมาทางด้านขวา และให้ตัวเลขเป็นตัวยกท้ายชื่อผู้เขียนเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการและชื่อหน่วยงาน
4) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 320 คำต่อบทคัดย่อ
5) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 - 5 คำ)
6) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจากหัวข้อใหญ่ 3 - 5 ตัวอักษร เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ควรเว้นระยะพิมพ์เพิ่มอีก 0.5 ช่วงบรรทัด ก่อนขึ้นหัวข้อย่อย
7) การใช้ตัวเลขคำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมดและใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น (ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student - centered learning)
8) การอ้างอิง ใช้รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 7th เป็นรูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยการระบุชื่อผู้เขียนและตามด้วยปีที่เขียน
9) ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ต้นฉบับ เช่น รูปแบบการพิมพ์ การอ้างอิงตัวสะกด วรรคตอน และการใช้ภาษา

7.ระบบการอ้างอิง แบบ APA 7th

          เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ ก่อนส่งต้นฉบับผู้เขียนบทความควรตรวจสอบถึงความถูกต้องของการอ้างอิงเอกสาร เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่การอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง สำหรับการอ้างอิงเอกสารในบทความนั้น ใช้การเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 7th  ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด - ปิด แล้วระบุชื่อ - นามสกุล ของผู้เขียนที่นำมาอ้างอิง กำกับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสารให้ใช้รูปแบบ APA (7th Edition) เป็นมาตรฐาน โดยสามารถตัวอย่างวิธีการเขียนเอกสารอ้างอิง ที่ถูกต้องเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ APA https://www.apastyle.org หรือ https://www.nupress.grad.nu.ac.th/การเขียนบรรณานุกรม/

 

1) การอ้างอิงในเนื้อหา การเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 7th เป็นรูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ นาม - ปี โดยการระบุชื่อผู้เขียนและตามด้วยปีที่เขียน

จำนวนผู้แต่ง

ภาษาอังกฤษ

ภาษาไทย

1

Last Name (Year) or Organization (Year)

ชื่อ นามสกุล (ปีที่พิมพ์) หรือ หน่วยงาน (ปีที่พิมพ์)

Abrams (2018)

ทิศนา แขมมณี (2567)

2

Last Name1 and Last Name2 (Year)

ชื่อ นามสกุล1 และ ชื่อ นามสกุล2 (ปีที่พิมพ์)

Wegener and Petty (1994)

รศักดิ์ อุปรมัย อุปไมยอธิชัย และ สุชาติ บางวิเศษ (2563)

3

Last Name et al., (Year)

ชื่อ นามสกุล และคณะ (ปีที่พิมพ์)

Harris et al., (2018)

ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์ และคณะ (2563)

                    

  2) เอกสารอ้างอิงท้ายบทความให้ใช้รูปแบบ ดังนี้

(1) หนังสือ 

ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ทิศนา แขมมณี. (2567). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 11). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Campbell, J. B. (2007). Introduction to Remote Sensing (4th ed.). Routledge.

(2) วารสาร 

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่/(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า.

ตัวอย่าง

นภสินธุ์ สานติวัตร และ สารศาสตร์ สุขเจริญสิน. (2564). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจ่ายเงินปันผลและการเปลี่ยนแปลงของกำไรในอนาคต. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 43(3), 1-21. https://doi.org/10.1080/00228958.2011

Aryadoust, S. V. (2009). Mapping Rasch-based measurement onto the argument-based validity framework. Rasch Measurement Transactions, 23(1), 1192-1193. https://www.rasch.org/rmt/rmt231f.htm

(3) วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์

ชื่อ นามสกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์./ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต, ชื่อมหาวิทยาลัย]./ชื่อเว็บไซต์./URL

ตัวอย่าง

วันชนะ จูบรรจง. (2560). ระบบสนับสนุนการประมาณการสัมผัสแคดเมียมผ่านการบริโภคอาหาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

Zambrano-Vazquez, L. (2016). The interaction of state and trait worry on response monitoring in those with worry and obsessive-compulsive symptoms [Doctoral dissertation, University of Arizona]. UA Campus Repository. https://respository.arizona.edu/handle/10150/620615

(4) สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ชื่อ นามสกุลผู้เขียน./(วัน/เดือน/ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL

ตัวอย่าง

สุรชาติ บำรุงสุข. (7 สิงหาคม 2566). สงครามยูเครน : สงครามร้อนแรกในสงครามเย็นใหม่. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.https://www.nupress.grad.nu.ac.th/สงครามยูเครน

Sparks, D. (2019). Women’s wellness: Lifestyle strategies ease some bladder control problems. Mayo Clinic. https://newsnetwork.mayoclinic.org/discussion/womens-wellness-lifestyle-strategies-ease-some-bladder-control-problems/

(5) Generative AI

ชื่อผู้พัฒนา/ผู้เขียนโมเดลนี้. (ปีที่ใช้). ชื่อของโมเดล (version ที่ใช้) [Large language model]. URL for AI

ตัวอย่าง

OpenAI. (2024). ChatGPT (September 16 version) [Large language model]. https://chat.openai.com/chat

Anthropic. (2024). Claude (September 20 version) [Large language model]. https://claude.ai/new

 

8.การติดตามอ่านผลงานที่รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร
      ผู้เขียนที่ผลงานได้รับพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร สามารถติดตามอ่านผลงานดังกล่าวได้จากวารสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์บนเว็บไซต์ระบบการจัดการวารสารออนไลน์ Thai Journal Online: ThaiJo (URL: https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JRI)

9. ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

          ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์

บทความวิจัย (Research article)

Section default policy

บทความวิชาการ (Academic Articles)

Section default policy

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ