แนวทางการการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้โดยใช้หลักธรรม อิทธิบาท 4 สำหรับนักเรียนโรงเรียนคำเที่ยงอนุสสรณ์
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, อิทธิบาท 4, คุณลักษณะอันพึงประสงค์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นแบบเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้สำหรับนักเรียนโรงเรียนคำเที่ยงอนุสสรณ์ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้โดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 สำหรับนักเรียนโรงเรียนคำเที่ยงอนุสสรณ์ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้ให้สัมภาษณ์ 6 คน ผู้ถูกสังเกตพฤติกรรม 6 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และผู้เข้าร่วมสนทนา 8 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่แนวทางการสังเกตพฤติกรรม แนวทางการสัมภาษณ์ และกรอบคำถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการวิจัยพบว่า
- โรงเรียนได้พัฒนาความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ ส่งเสริมให้สามารถอยู่ร่วมกันตามกระบวนการประชาธิปไตย ส่งเสริมครูให้สร้างองค์ความรู้จัดการเรียนการสอนเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ พัฒนาระบบสารสนเทศเชื่อมโยงทุกฝ่ายงาน และพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มาโรงเรียนเช้าตั้งใจเรียน สมาธิ สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมี ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จมาพบปะนักเรียน ช่วยให้ใฝ่เรียนรู้ได้ โรงเรียนมีครูครบทุกกลุ่มสาระ มีแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีและงบประมาณเพียงพอ มีหน่วยงานต่าง ๆ ภายนอกมาสนับสนุน มีสถานที่คับแคบ มีมลภาวะทางอากาศและเสียง มีภาระงานพิเศษมากและนักเรียนบางคนมีวุฒิภาวะไม่พร้อมต่อการเรียน
2. แนวทางการบริหารจัดการดังนี้ ถอดหลักธรรมอิทธิบาท 4 เป็นกิจกรรมที่ผ่านการตรวจสอบแล้วและต้องขับเคลื่อนโดยฝ่ายบริหารอย่างต่อเนื่อง สามารถจัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน พักเที่ยงหรือหลังเลิกเรียน โดยใช้สื่อสารคดี ภาพยนตร์แบบ soundtrack คาราโอเกะ อ่านหนังสือ แสดงบนเวที วาดภาพระบายสี เล่นกีฬา และพัฒนาครูให้เขียนแผนการสอนแบบ Active learning
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลัก สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ซึคเซส มีเดีย.
เขียน วันทนียตระกูล. (2547) จิตวิทยาการศึกษา. ม.ป.พ., ม.ป.ท.
จิราภรณ์ ศรีบุรี. (2554). การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้โดยใช้นาฏประดิษฐ์เกี่ยวกับสมุนไพร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม].
แจ๊ก แคนฟีลด์ และมาร์ก วิกเตอร์ แฮนเซน. (2547). พลังแห่งชีวิตฉบับครูพันธุ์แท้. (บัญชา สุวรรณานนท์, แปล). กรุงเทพฯ: แพรว.
ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ. (2562). ผลประเมิน PISA 2018 ผลคะแนนเด็กไทยอยู่จุดไหนในเวทีนานาชาติ. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2564, จาก https://thestandard.co/pisa-2018
ดารัตน์ พงษ์สุวรรณ์. (2554). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม. [สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
พระครูพิศาลธรรมานุวัตร (สมนึก เตชธมฺโม). (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 7(1), 46-47.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย.
พศิน แตงจวง. (2563). บันทึกการเรียนการสอนรายวิชาประเด็นทางการบริหารการศึกษา. สมุดบันทึกการเรียนการสอน.
มงคลชัย วิริยะพินิจ. (2554). องค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ส่องศยาม.
โรงเรียนคำเที่ยงอนุสสรณ์. (2563). รายงานการพัฒนาตนเอง(SAR). เอกสารเย็บเล่ม.
วารุณี ทีนา. (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านการเรียนรู้อย่างมีความสุขของผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย].
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และกมลรัตน์ ฉิมพาลี. (2559). ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมศักดิ์ บุญปู่. (2554). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาการบริหารการศึกษา. เอกสารเย็บเล่ม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2564). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก : ผลการประเมิน SAR ภายใต้สถานการณ์ COVID – 19 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เอกสารเย็บเล่ม.
สุวดี ผลงาม. (2546). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้หลักอิทธิบาทสี่ วิชา ช 0160 ช่างดอกไม้ประดิษฐ์การประดิษฐ์ดอกไม้จากไส้หญ้าปล้อง. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง].
อรัญยายี กลางคาร. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้สำหรับนักเรีนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม].