แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุชัญญา คุณยศยิ่ง โรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์
  • ชาลี ภักดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหาร, การจัดการ, แหล่งเรียนรู้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 15 ท่าน ประกอบด้วยผู้บริหารและครูโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ และผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่มจำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วยผู้บริหาร 2 คนครู 2 คนผู้เชี่ยวชาญ 2 คน และนักวิชาการศาสนา 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แนวทางการสนทนากลุ่ม

          ผลการวิจัยพบว่า :

  1. การจัดการแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและ ตอบสนอง ต่อความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต อย่างกว้างขวางตามความสามารถความสนใจความถนัด โดยไม่จำกัดอายุ เพศ เวลา สถานที่ หลักสูตร ชั้นและวิธีการเรียนรู้ซึ่งเป็นแนวทางที่จะผลักดันในการพัฒนาครูด้านการจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โดยมุ่งให้เกิดผลต่อจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (Active learning) โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน
  2. แนวทางในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โดยกำหนดโครงการกิจกรรมดังนี้ 1) โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สู่กลุ่มสาระฯ 2) โครงการพัฒนาและศึกษาแหล่งเรียนรู้ 3) โครงการแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4) โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5) โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา 6) กิจกรรมการส่งเสริมให้ครูได้ใช้แหล่งเรียนรู้อย่างเหมาะสมและเต็มตามศักยภาพ 7) กิจกรรมจัดทำทะเบียนสร้างใช้และประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายนอกและภายในให้ชัดเจน

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม : เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพกรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จักรพงศ์ สุวรรณรัศมี. (2556). การจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการ. สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 หน้า 72 – 79.

ชวนพิศ พร้อมสุข. (2559) แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. [ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย].

ธนพล ด่านวิวัฒน์วงศ์. (2559) การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โรงเรียนบ้านริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. [ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย].

นันทนิจ เที่ยงพูนโภค. (2556). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเป็นสื่อสำคัญ. กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว.

ศิริพร จิตอารีย์. (2549) การจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่. [ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) 2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-23

How to Cite

คุณยศยิ่ง ส., ภักดี ช., & ศิริกุลพันธ์ ฉ. (2023). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารล้านนาวิจัยปริทรรศน์, 4(1-2), 33–43. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JOLRR/article/view/313