แนวทางการบริหารวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในยุคชีวิตวิถีใหม่ โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์
คำสำคัญ:
การบริหารวิชาการ, การจัดการเรียนการสอน, การสอนแบบผสมผสานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในยุคชีวิตวิถีใหม่ 2) เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในยุคชีวิตวิถีใหม่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญการสนทนาสนทนากลุ่ม จำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู ตัวแทนผู้ปกครอง ผู้บริหาร และครู ที่มีขนาดโรงเรียนเทียบเคียงกัน ศึกษานิเทศก์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวทางการการสัมภาษณ์และแนวทางการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า :
- สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในยุคชีวิตวิถีใหม่ โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์มีปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็ง (Strength) และมีปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรค (Threat) จึงควรใช้กลยุทธ์เชิงป้องกัน โดยการส่งเสริมจุดแข็งเพื่อไปลดทอนผลกระทบของอุปสรรคภายนอกให้น้อยลง
2. แนวทางการบริหารจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในยุคชีวิตวิถีใหม่ โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์โดยการบริหารจัดการด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน ประกอบด้วย จัดทำโครงการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 2) การดำเนินการ ประกอบด้วยส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับนักเรียน ส่งเสริมพัฒนาครูด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกพัฒนาความรู้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 3) การประเมินผล ประกอบด้วย การนิเทศ ติดตาม ในระหว่างการจัดทำโครงการ ความก้าวหน้าในการพัฒนาการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ของนักเรียน ครูและระดับโรงเรียน 4) การนำผลประเมินผลมาพัฒนา ประกอบด้วย นำผลที่ได้มาทำการปรับปรุง เรียนรู้แลกเปลี่ยน เผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจศึกษา และจัดทำนวัตกรรมการพัฒนาการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลระดับโรงเรียน
References
ทิฎิ์ภัทรา สุดแก้ว. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผ่านเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. วารสารคุรุสภาจารย์, ฉบับที่ 2.
ประทวน คล้ายศรี. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับแนวคิดอภิปัญญา สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต].
ลภัสปาลิน ใจธรรม. (2558). การเรียนรู้แบบผสมผสาน กรณีศึกษา : โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร. [สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร].
วไลพรรณ อาจารีวัฒนาและคณะ. (2563) .การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์ แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาของนักศึกษาโครงการพิเศษหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง].
วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัส COVID -19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, ฉบับที่ 34.
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, ฉบับที่ 40.
สุสัณหา ยิ้มแย้มและคณะ. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลสาร, ฉบับที่ 42.
อนุชา สะเล็ม. (2560). การประยุกต์ใช้ E-Learning ในกระบวนการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจมีนบุรี กรุงเทพ. [สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร].