การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนคำควบกล้ำโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังตาเทพ
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์, การอ่านและเขียนคําควบกล้ำ, แบบฝึกทักษะบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนคำควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่าน และการเขียนคำควบกล้ำโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน และเขียนคำควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้านการอ่าน และการเขียนคําควบกล้ำภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปี โรงเรียนบ้านวังตาเทพ ปีการศึกษา 2564 มีจำนวนนักเรียน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนคําควบกล้ำ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่าน และการเขียนคําควบกล้ำ และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบแบบ Nonparametric ใช้การทดสอบ Wilcoxon signed rank test สำหรับเปรียบเทียบคะแนนก่อนกับหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่าน และเขียนคำควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 80.10/95.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
- ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์การอ่าน และการเขียนคำควบกล้ำโดยใช้แบบฝึกทักษะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้านการอ่านและการเขียนคําควบกล้ำภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรีนนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด “การบูรณาการ”. การศาสนา กรมการศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กฤษณา กิตติ เสรีบุตร. (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคําควบกล้ำ ร ล ว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม].
กัลยาณี บุญประสิทธิ์. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การอ่านและการเขียนคําควบกล้ำที่มีตัว ร/ล/ว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].
จุฑามาศ ศรีวิลัย. (2549). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว โดยใช้ภาพประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์].
ถวัลย์ มาศจรัส, สมปอง แว่นไธสง และบังอร สงวนหมู่. (2550). แบบฝึกหัดแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ผู้เรียนและการจัดทำผลงานวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ธารอักษร.
ธฤตภณ สุวรรณรักษ. (2549). การพัฒนาแบบฝึกการออกเสียงคําควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพุทธบูชา. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2557). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคําควบกล้ำ. [วิทยานิพนธ์ครุ ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์].
ลัดดาวัลย์ พงษ์เขตกรณ. (2561). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด คล่องแคล่วคำควบกล้ำเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
สุมลมาลย์ เอติรัตนะ. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี].
สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2552). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 จากhttp://www.oic.go.th›GENERAL›DATA0000