การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
การพัฒนา, แบบฝึกทักษะ, การอ่านจับใจความสำคัญบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านช่อระกา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านช่อระกา ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านช่อระกา จำนวน 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบฝึกการอ่านจับใจความ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนการทดสอบก่อนกับหลังเรียนใช้สถิติทดสอบค่า t-test แบบ dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน
บ้านช่อระกา มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 80.17/89.75 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านช่อระกา ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ พบว่า คะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านช่อระกา ที่สอนโดยใช้แบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
References
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. ศิลปาบรรณาคาร.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2548). คู่มือความคิดสร้างสรรค์ในการจัดทำนวัตกรรมการศึกษา. ธารอักษร.
ทวี สมหวัง. (2549). ความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาไทย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย.
ทัศนีย์ แก้วงาม. (2550). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
นงเยาว์ ทองกำเนิด. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].
นริสรา สุนนทราช. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ปิยฉัตร ศรีสุราช. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง จังหวัดตราด [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (RBRU E-THESES).
เปลื้อง ณ นคร. (2542). ศิลปะการอ่าน หลักวิธีการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ. ข้าวฟ่าง.
วรัญชนก อุ่มสกุล. (2553). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้สื่อท้องถิ่นพิษณุโลกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยนเรศวร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (IS).
สมัย ลาสุวรรณ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม].
สุนทร วรหาร. (2547). การอ่านการเขียนคำไทย(เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทย) [เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์]. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2544). การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอน การสร้างแบบฝึก. ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.
สุพรรณี ไชยเทพ. (2544). การใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและเขียนคำในวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
สุวนันท์ สันติเดชา. (2547). รายงานการใช้แบบฝึกเพื่อแก้ปัญหานักเรียนออกเสียงภาษาไทยไม่ถูกต้อง. ธารอักษร.
โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล. (2546). ภาษาไทยเพื่ออาชีพ. วังอักษร.
อดุลย์ มุลละชาติ. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ ร ล ว กลุ่มสาระการเรียนรูภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาบีที่ 4 โรงเรียนบ้านคำกุงหนองอิดุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
เอกรินทร์ สี่มหาศาล. (2546). แนวปฏิบัติ: กระบวนการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นพุทธศักราช 2544. บุ๊คพอยท์.