การพัฒนาการเขียนย่อความโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะนิทานพื้นบ้านร่วมกับเทคนิค 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางอำพันธ์วิทยาคม ตำบลบ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ศตวรรษ ดีกระจ่าง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ปพิชญา พรหมกันธา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การเขียนย่อความ, ชุดแบบฝึกทักษะ, นิทานพื้นบ้าน, เทคนิค 5W1H

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกทักษะการเขียนย่อความจากนิทานพื้นบ้านให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนย่อความจากสื่อนิทานโดยใช้เทคนิค 5W1H ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีคะแนนรวมสูงกว่าร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้อยู่ในระดับดีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบางอำพันธ์วิทยาคม จำนวน 17 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุดแบบฝึกทักษะการเขียนย่อความจากนิทานพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 85.36/82.94 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนย่อความมีคะแนนรวมหลังเรียนเฉลี่ย เท่ากับ 24.88 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 70

3. ความพึงพอใจพบว่าผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการเขียนย่อความโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะนิทานพื้นบ้านร่วมกับเทคนิค 5W1H อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.31 คิดเป็นร้อยละ 85.67 ซึ่งสูงกว่าวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในระดับดีขึ้นไป

References

จินดารัตน์ ฉัตรสอน. (2558). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL ร่วมกับแบบฝึก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ดวงพร เฟื้องฟู. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค 5W1H เพื่อส่งเสริมการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์].

พระมหาเอกลักษณ์ เทพวิจิตร. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA (Directed Reading-Thinking Activity). [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และอมลวรรณ วีระธรรมโม. (2549). การสอนเพื่อพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). เทมการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29

How to Cite

ดีกระจ่าง ศ., & พรหมกันธา ป. (2023). การพัฒนาการเขียนย่อความโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะนิทานพื้นบ้านร่วมกับเทคนิค 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางอำพันธ์วิทยาคม ตำบลบ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารล้านนาวิจัยปริทรรศน์, 4(1-2), 44–51. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/JOLRR/article/view/250