ความต้องการสนับสนุนการดำเนินการขอจดความคุ้มครอง ทางทรัพย์สินทางปัญญากรณีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

ผู้แต่ง

  • สุจรรยา ใจเดช สำนักวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กรุงเทพ 10330

คำสำคัญ:

บุคลากร, ความต้องการ, จดความคุ้มครอง, ทรัพย์สินทางปัญญา

บทคัดย่อ

   

ผลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความแตกต่างของความต้องการสนับสนุนการดำเนินการขอจดความคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่มศึกษาทั้งหมด และ
2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความต้องการสนับสนุนการดำเนินการขอจดความคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างกลุ่มศึกษา 5 กลุ่ม คือ บุคลากรสายวิชาการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  บุคลากรสายวิชาการคณะวิศวกรรมศาสตร์ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการระดับผู้อำนวยการกองและหัวหน้าสำนักงาน บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการระดับหัวหน้าฝ่าย และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการระดับผู้ปฏิบัติงาน ในด้านความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และด้านการสนับสนุนจาก
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ดำเนินการวิจัยโดยออกแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า Likert Scale 3 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการวิเคราะห์ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) และความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)  โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง (Subject matter specialist) รวบรวมข้อมูลความต้องการในการดำเนินการขอจดความคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่มศึกษาทั้งหมดจำนวน 185 คน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มศึกษาทั้งหมดมีเจตคติระดับสูงต่อความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ การให้บริการของเจ้าหน้าที่ และความต้องการสนับสนุนจากสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของความต้องการสนับสนุนในการดำเนินการขอจดความคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่มศึกษาทั้งหมดของแต่ละด้านทั้ง 3 ด้านด้วย Freidman Two-way Analysis of Variance by Ranks พบว่าความต้องการสนับสนุนในการดำเนินการขอจดความคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่มศึกษาทั้งหมดทั้ง 3 ด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของความต้องการสนับสนุนในการดำเนินการขอจดความคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญาของบุคลากรสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ระหว่างกลุ่มศึกษา 5 กลุ่ม
ของแต่ละด้านทั้ง 3 ด้าน โดยวิเคราะห์ด้วย Freidman Two-way Analysis of Variance by Ranks พบว่าความต้องการสนับสนุนในการดำเนินการขอจดความคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญาของบุคลากร
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ข้อเสนอแนะของการศึกษาคือ1) สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันควรสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เกี่ยวกับการจดความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่บุคลากร
ของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน  โดยจำแนกรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ออกเป็น 5 รูปแบบ
ตามกลุ่มบุคลากร 5 กลุ่ม 2) สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันควรจัดทำกรอบอัตรากำลังสำหรับการดำเนินการขอจดความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของบุคลากรสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เพิ่มเติมตามความต้องการสนับสนุนการดำเนินการขอจดความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่แตกต่างกันของบุคลากรของ
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันทั้ง 5 กลุ่ม

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2555). คู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร.นนทบุรี: กรมทรัพย์สินทางปัญญา

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2560). ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ก้อนเมฆ.

กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2564). เอกสารประกอบการสอน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน. (2565). รายงานผลการตรวจประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ประจำปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.

Likert, R. (1961). New Ratterns of Management. New York : McGraw Hill Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-11

How to Cite

ใจเดช ส. (2024). ความต้องการสนับสนุนการดำเนินการขอจดความคุ้มครอง ทางทรัพย์สินทางปัญญากรณีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน. Social Science and Humanities Research Bulletin, 1(1), 6–27. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/HASS/article/view/837