ความพึงพอใจของผู้ใช้ฐานข้อมูลผลงานทางวิชาการ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา กรณีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ผลงานทางวิชาการ, การประกันคุณภาพการศึกษาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความพึงพอใจของกลุ่มศึกษาที่มีต่อการใช้ฐานข้อมูลผลงานทางวิชาการเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ฐานข้อมูลผลงานทางวิชาการเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มเลขานุการประจำหลักสูตรและผู้บริหารระดับคณะวิชาในด้านความถูกต้องของรายละเอียดข้อมูลผลงานทางวิชาการ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ และด้านการออกแบบและความสวยงาม ประชากรที่ศึกษาคือบุคลากรผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 2 กลุ่ม
คือ 1) เลขานุการประจำหลักสูตร จำนวน 10 คน และ 2) ผู้บริหารระดับคณะวิชา จำนวน 10 คน ดำเนินการวิจัยโดยออกแบบแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า Likert Scale 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการวิเคราะห์ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) และความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติทดสอบเชิงสมมติฐานคือ 1) Kolmogorov-Smirnov One Sample Test 2) Freidman Two-way Analysis of Variance by Ranks และ 3) Kolmogorov-Smirnov Two Sample Test และ 4) Mann-Whitney U Test ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ฐานข้อมูลผลงานทางวิชาการเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มศึกษาทั้งหมดในแต่ละด้านทั้ง 3 ด้าน พบว่าความพึงพอใจของผู้ใช้ฐานข้อมูลผลงานทางวิชาการทั้งหมดเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มศึกษาทั้งหมดในด้านความถูกต้องของรายละเอียดข้อมูลผลงานทางวิชาการ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ และด้านการออกแบบและความสวยงาม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ฐานข้อมูลผลงานทางวิชาการเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มศึกษา 2 กลุ่มในแต่ละด้านทั้ง 3 ด้าน พบว่าด้านความถูกต้องของรายละเอียดข้อมูลผลงานทางวิชาการ และด้านการออกแบบและความสวยงาม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ข้อเสนอแนะของการศึกษา คือ 1) สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันควรมีนโยบายสนับสนุนงบประมาณดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลผลงานทางวิชาการเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันให้สนับสนุนการปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องตามพันธกิจของสถาบัน และ 2) สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันควรคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านข้อมูลผลงานทางวิชาการและศิลปะการออกแบบเว็บไซต์เป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลผลงานทางวิชาการเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาให้สามารถดำเนินการได้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
References
คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา คณะอนุกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพ
การศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา. (2560). คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมื่อวิจัยทงการศึกษา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชญา หอมหวล และธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐต่อการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(5), 80-98.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน. (2565). รายงานผลการตรวจประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ประจำปีการศึกษา 2564. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.สำนักวิจัยและบริการวิชการ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา(Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา 2565 สำนักวิจัยและบริการวิชาการ.
สุธรรม ขนาบศักดิ์. (2558). ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 10(1), 35-51.
เอมีล่า แวอีซอ. (2565). ความแตกต่างระหว่างเจเนอเรชันและความพึงพอใจงานของบุคลากร: กรณีศึกษาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยภูเก็ต. วารสารวิเทศศึกษา, 12(1), 179-206.
Likert, R. (1961). New Patterns of Management. McGraw Hill Book.
Siegel, Sidney. (1956). Nonparametric Statistics for Behavioral Science. McGraw-Hill Book.