การยกระดับมาตรฐานการอาชีวศึกษาและหลักสูตร เพื่อพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงด้านเกษตรกรรมและประมง
คำสำคัญ:
มาตรฐานการอาชีวศึกษา , กำลังคนสมรรถนะสูง , เกษตรกรรม, ประมง, การพัฒนารูปแบบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และรูปแบบการยกระดับมาตรฐานการอาชีวศึกษาและหลักสูตรเพื่อพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงด้านเกษตรกรรมและประมง ดำเนินการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาเอกสาร และการสนทนากลุ่ม (Focus groups) เกี่ยวกับความคิดเห็นการยกระดับมาตรฐานการอาชีวศึกษาและหลักสูตรเพื่อพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงด้านเกษตรกรรมและประมง กลุ่มประชากรคือสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนประเภทวิชาเกษตรกรรมและประมง จำนวน 47 วิทยาลัยฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนประเภทวิชาเกษตรกรรมและประมง จำนวน 10 วิทยาลัยฯ ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในแต่ละกลุ่มมีจำนวน 28 คน 2) สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการยกระดับมาตรฐานการ
อาชีวศึกษาและหลักสูตรเพื่อพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงด้านเกษตรกรรมและประมง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 224 คน จาก 8 วิทยาลัยฯ ที่ได้มาจากคัดเลือกแบบเจาะจงจากวิทยาลัยเกษตรและประมงในสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนประเภทวิชาเกษตรกรรมและประมงในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง และภาคใต้ ภาคละ 2 วิทยาลัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการยกระดับมาตรฐานการอาชีวศึกษาและหลักสูตรเพื่อพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงด้านเกษตรกรรมและประมง คือ รูปแบบการพัฒนาภายใต้กรอบทฤษฏีการเปลี่ยนแปลงแบบย้อนกลับที่ประกอบด้วยการจัดการด้านผลกระทบ ผลลัพธ์ ผลผลิต กระบวนการ และปัจจัยนำเข้า ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า มีความคิดเห็นในระดับมากด้านความสำคัญและจำเป็นของรูปแบบในระยะการถอดบทเรียน การพัฒนารูปแบบและทดลองใช้รูปแบบในสถานศึกษา และด้านความสำคัญและจำเป็นของรูปแบบในการขยายผลการใช้รูปแบบในวิทยาลัยและเทคโนโลยี และวิทยาลัยประมงทุกองค์ประกอบ
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570.
เกศกุล สระกวี. (2564). ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและตัวชี้วัดทางพฤติกรรมในการประเมินผลกระทบทางสังคม. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 27(2), 1-19
พัชรินทร์ สุภาพันธ์อุดมลักขณ์ ธรรมปัญญา พัชรี อินธนู และพีรพงษ์ ปราบริปู. 2565. การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากงานวิจัยด้านข้าวของมหาวิทยาลัยแม่โจ้. รายงานผลการวิจัย.
ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์. (2559). การนำทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและตัวแบบตรรกะเพื่อการปรับตัวด้านภูมิอากาศมาใช้ในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น 9(1). 42-58.
ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์. (2565). โครงการประเมินผลลัพธ์โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและการบริการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 – 2561. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560). แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเกษตร ระยะ 20 ปี พ.ศ. (2560-2579)และแผนปฏิบัติงานระยะ 5 ปี (2560-2564). กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :นิวธรรมดาการพิมพ์.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570.