แนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
คำสำคัญ:
ลูกเสือสามัญ, บริหารงานกิจกรรม, แนวทางพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารกิจกรรมลูกเสือสามัญ และหาแนวทางพัฒนาการบริหารกิจกรรมลูกเสือสามัญของโรงเรียนในสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการลูกเสือและครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 จำนวน 333 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยรวมมีคะแนนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีคะแนนมากที่สุด คือ ด้านการจัดบุคลากร รองลงมา คือ ด้านการจัดการองค์กร ด้านการวางแผน ด้านการอำนวยการ และด้านที่มีคะแนนน้อยที่สุด คือ ด้านการควบคุมตามลำดับ แนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญ ด้านการวางแผน นำข้อมูลผลการปฏิบัติ ข้อเสนอแนะของปีที่ผ่านมา มาใช้ปรับปรุงแก้ไขให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามหลักสูตรในปีต่อไป ด้านการจัดการองค์กร ร่วมกันกำหนดการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กร ด้านการจัดบุคลากร ส่งเสริมให้ครูผู้สอนทุกคนมีคุณวุฒิทางลูกเสือ พัฒนาตนเองเพิ่มทักษะอยู่เสมอ ด้านการอำนวยการ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมตามลำดับกระบวนการการบริหารที่มีความชัดเจน และด้านการควบคุม มีการวางแผนการกำหนดคณะกรรมการรับผิดชอบสำหรับการนิเทศติดตามข้อมูลเพื่อประเมินสถานการณ์การให้ตรงตามนโยบายของสถานศึกษาที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
References
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.
ภัสชญา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 16(2),น. 290-298.
ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่. (2563). การบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนใน ศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 9 พุทธลีลาบางขัน สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2.วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์.5(2),น. 406.
วันใหม่ สืบชนะ. (2561). การบริหารงานลูกเสือสามัญในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 สุราษฎร์ธานี.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ศุภฤกษ์ ศิโรทศ. (2561). แนวทางการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 นครสวรรค์.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. (2563). นโยบายและจุดเน้นเพื่อการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติปีการศึกษา 2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1.
สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ. (2551).พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 (เอกสารเผยแพร่และประชาสัมพันธ์). กรุงเทพมหานคร:สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ.
สำนักงานลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจกรรมนักเรียน. (2550). เอกสารประกอบการนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดกิจกรรมลูกเสือ.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานลูกเสือยุวกาชาด และกิจกรรมนักเรียน.
อดิศัย โพธารามิก. (2548).กรอบแนวคิดในการฟื้นฟูกิจกรรมลูกเสือไทยการลูกเสือไทยพัฒนาการในยุค 2546–2548. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), pp. 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง