นอนภาวนา: เครื่องมือการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนามิติภายในของผู้เรียน
คำสำคัญ:
นอนภาวนา, เจริญสติ, จิตตปัญญาศึกษา, มิติภายในบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งนำเสนอวิธีการนอนภาวนาของผู้เรียนซึ่งถือเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งสำหรับการจัดการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนามิติภายใน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้เท่าทันตัวเองระดับจิตใต้สำนึกโดยเฝ้าสังเกตความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม กรอบการมองโลกหรือการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนจิตสำนึกในรูปแบบใหม่ที่มีสติเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้ รู้สึกสงบผ่อนคลาย ตระหนักรู้คุณค่าของสิ่งต่าง ๆ เกิดการสำนึกรู้ในการอยู่ร่วมกันด้วยความเมตตากรุณาและมีตัวตนที่อ่อนน้อมต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ครู อาจารย์หรือกระบวนกรสามารถนำวิธีการดังกล่าวไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบได้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดดุลยภาพด้านการรู้คิดเจตคติและพฤติกรรมอย่างเหมาะสม
References
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2552). จิตตปัญญาศึกษา: รุ่งอรุณแห่งจิตสำนึกใหม่ทางการศึกษา. จุลสารประชาคมประกันคุณภาพการศึกษา. 7(5).
ธนา นิลชัยโกวิทย์ และอดิศร จันทรสุข. (2559). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง : คู่มือกระบวนกรจิตตปัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ภูสายแดด.
ประเวศ วะสี. (2550). ความเป็นมนุษย์กับการเข้าถึงสิ่งสูงสุด ความจริง ความดี ความงาม. ใน การประชุม 8th HA National Forum: Humanized Healthcare ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล.
ประเวศ วะสี. (2558). ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2544). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
มนตรี หลินภู, เบญจวรรณ ชัยปลัด, ไตรรงค์ เปลี่ยนแสง, ศรวัส ศิริ, เลเกีย เขียวดี, และธิดารัตน์ พรมมา. (2565). ระเบิดจากข้างในสู่การใช้ชีวิตด้วยจิตตปัญญาบูรณาการร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้. ใน การประชุมวิชาการทางจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 10. (น. 214-231). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุพิชญา โคทวี. (2555). จิตตปัญญาศึกษาทางเลือกใหม่ของการศึกษาไทย. ค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก https://dcms.thailis.or.th/dcms/dccheck.php?Int_code=2&RecId=939&obj_id=9142
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง